การ ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย สังสรรค์กับเพื่อนๆหลังเลิกงานบ่อยๆ อาจสร้างความสุข และความสัมพันธ์ที่ดี แต่ถ้าบริโภคมากเกินไป อาจเกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษได้ ซึ่งปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดที่มีผลกระทบต่อร่างกายนั้นมีหลายระดับ โดยแต่ละระดับส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน ได้แก่ ทำให้เกิดอารมณ์สนุกสนาน ร่าเริงกว่าปกติ การยับยั้งชั่งใจลดลง การมองเห็นลดลง ความสามารถในการควบคุมร่างกายช้าลง คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ พูดไม่รู้เรื่อง การตอบสนองและตัดสินใจช้าลง อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย จนถึงการดื่มในปริมาณที่มากแอลกอฮอล์ออกฤทธิ์เป็นสารกดประสาท สามารถกดสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหายใจและการรู้สึกตัว จะทำให้ระบบทางเดินหายใจแย่ลงจนถึงขั้นหยุดหายใจ หมดสติ และขั้นเสียชีวิตได้
นอกจากแอลกอฮอล์จะส่งผลกระทบต่อร่างกายในขณะดื่มแล้ว การดื่มติดต่อกันเป็นเวลานานยังส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆก่อให้เกิดโรคต่างได้ดังนี้
1.ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเส้นเลือดหัวใจ
- ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโต
- กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง เกิดหัวใจวายได้ง่าย
2.ผลต่อระบบประสาทและสมอง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคนอนไม่หลับ
- เวียนศีรษะ มึน งง
- แขนขาอ่อนแรง
- เป็นตะคริวง่าย
- สายตาพร่ามัว
- โรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบหวาดระแวงเพราะพิษสุรา
- โรคความจำเสื่อม
- โรคสมองพิการ
- โรคซึมเศร้า
- โรคลมชัก
- โรคนอนไม่หลับ
3.ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
- โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
- โรคมะเร็งกล่องเสียงและหลอดอาหาร
- โรคตับอักเสบ
- โรคริดสีดวงทวาร
- ไขมันสะสมที่ตับ
- ตับแข็ง
4.ระบบเลือด
- มีภาวะโลหิตจาง
- ภูมิคุ้มกันต่ำเนื่องจากเม็ดเลือดขาวผลิตน้อยลง
- เลือดออกง่ายและหยุดไหลยากเนื่องจากเกร็ดเลือดทำงานไม่ปกติ
5.ผลต่อทารกจากการดื่มสุราของมารดา
- ทารกคลอดก่อนกำหนด
- แขน ขา เจริญเติบโตผิดปกติ
- หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
- ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวน้อย
- ปากแหว่ง เพดานโหว่
- สมองเล็กกว่าปกติ
- ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ
- ทารกนอนหลับยากร้องกวนบ่อย
6.อุบัติเหตุ
การดื่มสุราทำให้ความสามารถในการตัดสินใจลดลง ก่อให้เกิดอุบัติบนท้องถนนได้สูง นอกจากนั้นอาจก่อให้เกิดความ รุนแรงและการทำร้ายร่างกาย
7.โรคอื่นที่มีผลกระทบจากการดื่มทางอ้อม
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ,โรคผิวหนัง,กระดูกพรุน,ความต้องการทางเพศลดลงและอาจส่งผลให้ลูกอัณฑะเล็กลง การดื่มสุราในปริมาณพอเหมาะ นานๆ ครั้งตับจะสามารถกรองแอลกอฮอล์ออกจนหมด และฟื้นฟูเซลล์ที่จนกลับมาเป็นปกติได้ แต่หากดื่มในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ตับจะไม่สามารถกรองแอลกอฮอล์ได้หมด ผู้ที่ติดสุราเรื้อรังจึงควรตรวจการทำงานของตับ และคัดกรองมะเร็งตับทุกปี เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 08-0074-8800, 02-115-2111
แฟกซ์ : 02-738-9740
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Line : @ch9airport