รากฟันเทียม คือ สกรูเล็ก ๆ ที่ฝังลงในกระดูกขากรรไกรเพื่อทดแทนส่วนที่เป็นรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป
รากฟันเทียม โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้น ทำจากโลหะผสมไทเทเนียม ซึ่งมีความแข็งแรงสูง สามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ดี และทนต่อแรงบดเคี้ยวได้มาก มีรูปร่างเป็นแท่งทรงกระบอกคล้ายรากฟันธรรมชาติและมีเกลียวรอบๆ โดยเมื่อฝังลงในกระดูกแล้ว เซลล์กระดูกจะยึดเกาะกับผิวรากฟันฟันเทียม
ส่วนประกอบของรากฟันเทียม
รากฟันเทียมประกอบไปด้วย 3 ส่วน นั้นก็คือ
- รากเทียม – รากฟันเทียม (Fixture) เป็นส่วนที่ฝังลงในกระดูกขากรรไกร ทำจากโลหะผสมไทเทเนียม มีรูปร่างทรงกระบอกและมีเกลียวโดยรอบ ใช้ฝังให้เซลล์กระดูกยึดเกาะกับผิวรากฟัน เพื่อความแข็งแรง และความสามารถในการรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี
- ครอบฟัน – ครอบฟัน (Crown) เป็นตัวฟันเทียม มีทั้งแบบโลหะและแบบเซรามิกที่มีความแข็งแรง ความสวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร และช่วยในการออกเสียง เดือยรองครอบฟัน
- เดือยฟัน – เดือยฟัน (Abutment) เป็นตัวที่เป็นหลักยึด เป็นส่วนต่อรากฟันเทียมเข้ากับตัวครอบฟัน (ฟันปลอม)
เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปทำรากเทียม
- ก่อนจะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม คุณต้องได้รับการตรวจและประเมิน โดยละเอียดจากทันตแพทย์เฉพาะทาง หรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาในภายหลัง อีกทั้งทันตแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญยังสามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจใน ขั้นตอนของการทำทันตกรรมประดิษฐ์
- ในกรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัว มียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ เช่น กลุ่มยาละลายลิ่มเลือด มีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด
- กรณีที่มีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนข้อเทียม อาจจำเป็นต้องให้ยา ปฏิชีวนะ ก่อนการรักษาในบางกรณี จึงควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบล่วง หน้า
- วางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ทั้งเรื่องชนิดของรากฟันเทียม หรือฟัน เทียมที่เลือกใช้ในแผนการรักษา เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
- ขั้นตอนที่ 1 เมื่อฟันถูกถอนไปจากสาเหตุต่างๆ เช่น ฟันผุลึก ฟันโยก ฟันหัก ทำให้เกิดช่องว่าง ระหว่างฟัน 2 ซี่ด้านข้าง หากปล่อยไว้จะทำให้ 2 ซีนี้ล้ม หรือ เอียงได้
- ขั้นตอนที่ 2 การฝังรากฟันเทียมเป็นการทดแทนฟันที่หายไป โดยการฝังส่วนรากฟันเทียม ที่ ผลิตจากวัสดุไทเทเนียม สามารถเข้ากับร่างกายของเราได้ดี
- ขั้นตอนที่ 3 หลังจากฝังรากฟันเทียม ประมาณ 3-4 เดือน ทันตแพทย์จะใส่ครอบ ฟันลงบนรากฟัน เพื่อให้คนไข้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้เสมือนฟันธรรมชาติ
- ขั้นตอนที่ 4 รอยยิ้มที่มั่นใจ และการบดเคี้ยวอาหารที่ดีจะกลับมาอีกครั้ง หลังจากใส่ครอบฟัน บนรากฟันเทียม ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
- ไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันซี่ข้างเคียงเหมือนการทำสะพานฟัน
- เพิ่มความมั่นใจในการพูด การออกเสียง ช่วยให้บุคลิกภาพกลับมาดีดังเดิม
- เพิ่มความสามารถในการบดเคี้ยว ใช้งานเสมือนฟันธรรมชาติมากกว่าฟัน ปลอมชนิดอื่นๆ
- ช่วยรักษากระดูกบริเวณที่สูญเสียฟัน ไม่ให้สลายไป
ใครควรใส่รากฟันเทียม
รากฟันเทียมสามารถทำได้ในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไปทุกคน โดย เฉพาะอย่างยิ่งฟันที่อยู่บริเวณด้านหน้า หรือฟันที่ไม่สามารถใช้ฟันซี่อื่นๆ บริเวณข้างๆได้ ก็จะเหมาะสมกับการทำรากเทียม แต่แนะนําว่าคนไข้ควร อายุ ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กที่ยังอายุไม่ถึง 20 ปี กระดูกขากรรไกรยังไม่ เจริญเติบโตเต็มที่
วิธีดูแลฟันหลังทำรากฟันเทียม
ช่วงหลังจากฝังรากเทียมใหม่ๆ ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดในสัปดาห์แรก หลังการผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไป ช่วง 1-2 เดือน เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับรากเทียมที่เพิ่งฝังเข้าไป
- ประคบเย็นในวันแรกหลังการผ่าตัด วันที่ 2 และ 3 แนะนำให้ประคบร้อนถ้ามีการบวม
- อาการบวมหลังผ่าตัดถือเรื่องเป็นเรื่องปกติ สามารถรับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
- คนไข้สามารถดูแลรักษาความสะอาดของฟันได้ตามปกติ เหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันกําจัดเศษอาหารตามซอกฟัน
- แนะนําให้ใช้น้ำยาบ้วนปากล้างน้ำยาฆ่าเชื้อ ตามที่คุณหมอสั่ง
- พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำแนะนําของคุณหมออย่าง
- หากมีพฤติกรรมขบเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว