วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis [ TB ]

เชื้อ TB มีระยะฟักตัวอยู่ที่ 4-8 สัปดาห์ หลังจากร่างกายรับเชื้อ TB จากระบบทางเดินหายใจ โดยหลังจากฟักตัว จะเริ่มทำลายเซลล์ที่อยู่รอบ ๆ ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ และ กลายไปเป็นปอดอักเสบ แบบเรื้อรัง

อาการ เริ่มแรก เมื่อเชื้อ TB เริ่มเข้าไปทำลายปอด

  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • มีไข้ต่ำ ๆ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • มีอาการ หนาวสั่น
  • ระยะแรกมีอาการไอแห้ง ๆ ต่อมาไอแบบมีเสมหะ และ ไอมากยิ่งขึ้นเวลาเข้านอน ตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังอาหาร
  • มีอาการไอเรื้อรังยาวนานถึง 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
  • ไอแล้วเสมหะมีเลือดปนออกมา
  • ผู้ที่เป็นมาก ๆ จะไอแล้วมีอาการหอบร่วมด้วย หรือ มีก้อนเลือดสีดำ หรือแดงออกมาเวลาไอ
  • บางรายอาจมีอาการ เจ็บหน้าอก แต่ไม่ไอ กรณีนี้ จะตรวจพบโดยบังเอิญ เห็นจุดในปอดจากการ X-Ray ปอด
  • มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ

อาการที่ต้องระวัง มีอาการไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ หรือมีอาการไอและมีเสมหะปนเลือด ควรรีบไปพบแพทย์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคปอดมีหลายอย่าง เช่น

  • ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ (เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือ ผู้ป่วยให้ยาเคมี ) มีโอกาส ที่เชื้อฉวยโอกาส (เช่น TB) จะเข้าสู่ร่างการได้ง่าย
  • อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคสูง เช่น
    • อาศัยอยู่กับผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค
    • เดินทาง ไปประเทศ ที่มี ประชากร มีการติดเชื้อ วัณโรคปอดมาก
    • ทำงานในสถานพยาบาล ที่ไม่มีระบบการ Precaution ที่ดี
    • อาศัยอยู่ในที่แออัด คับแคบ อากาศไม่ถ่ายเท เช่น เรือนจำ

การวินิจฉัย โรควัณโรคปอด

  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย เช่น
    • การคลำบริเวณต่อมน้ำเหลือง
    • ฟังเสียงในปอด
  • X-Ray ปอด
  • การตรวจเสมหะ (Sputum AFB)

การรักษาวัณโรคปอดที่ใช้บ่อยที่สุด

  • รักษาด้วยยา Anti TB Agents กลุ่มยา (HRZE) นาน 6 เดือน
  • ไอโซไนอะซิด (Isoniazid : H) – ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อ
  • ริฟามพิน (Rifampin : R) – ยับยั้งการสร้าง ดีเอ็นเอ (DNA) ของเชื้อ
  • ไพราซีนาไมด์ (Pyrazinamide : Z) – ยับยั้งการสร้างกรดไขมันและโปรตีนที่จำเป็นต่อเชื้อ
  • เอทแทมบูท (Ethambutol : E) – ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อ

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นวัณโรคชนิดที่ดื้อยา แพทย์จะปรับแผนการรักษา โดยใช้ยาชนิดที่รักษา วัณโรคดื้อยา