ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง
แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
“ ผ่าตัดผ่านกล้อง” เทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ คืออะไร ?
การผ่าตัดผ่านกล้อง (Minimally Invasive Surgery – MIS) เป็นการผ่าตัดสมัยใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง
ลดอาการเจ็บแผล ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
การผ่าตัดผ่านกล้อง แยกได้ 3 ประเภท
- ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช อย่างเช่น การผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่และมดลูก การผ่าตัดท้องนอกมดลูก การทำหมันแห้ง การผ่าตัดรักษาโรคของโพรงมดลูก
- ผ่าตัดผ่านกล้องในช่องท้อง อย่างเช่น การผ่าตัดไส้ติ่ง การผ่าตัดไส้เลื่อน
- ผ่าตัดผ่านกล้องกระดูกและข้อ อย่างเช่น การผ่าตัดรักษาเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า การผ่าตัดรักษาอาการเจ็บของข้อไหล่
การผ่าตัดผ่านกล้อง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกทำให้ผู้ที่ทำการรักษาคลายความกังวลจากอาการเจ็บหลังผ่าตัดด้วยผลลัพธ์ที่แม่นยำ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพราะไม่จำเป็นต้องพักฟื้นระยะยาว
สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้องต่างๆ คลิกที่นี่!
ส่องเหตุผลดีๆ ทำไมต้อง ผ่าตัดผ่านกล้อง ที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
กังวลกันใช่มั้ยคะ เมื่อพูดถึงการผ่าตัด! ก่อนหน้านี้เราทำความรู้จัก การผ่าตัดผ่านกล้อง ไปแล้ว ครั้งนี้เรามาส่องเหตุผลดีๆกันบ้าง
“ แผลเล็ก” แผลมีขนาดเล็กกว่าวิธีการผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งจะมีแผลกว้างอย่างเห็นได้ชัด
“ เจ็บน้อย” หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแผลน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้าง และยังเสียเลือดน้อยอีกด้วย
“ ฟื้นตัวเร็ว” เพราะแผลที่เล็กทำให้เนื้อเยื่อได้รับความบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้าง ลดโอกาสแผลติดเชื้อ การเกิดพังผืด จึงทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว
“ ใช้เวลาไม่นาน แม่นยำ” ระยะเวลาการผ่าตัดผ่านกล้องรวดเร็วกว่า และความคมชัดของกล้องที่มีกำลังขยายสูง ทำให้ขณะผ่าตัด มองเห็นรายละเอียด และตำแหน่งภายในร่างกายได้ชัดเจน
“ แผลสวยงาม” ผู้ป่วยหลายท่านกังวลเรื่องนี้ ซึ่งแน่นอนว่าการผ่าตัดผ่านกล้องมีแผลที่ขนาดเล็ก ผลพลอยได้คือ ทำให้แผลผ่าตัดดูสวยงาม
การผ่าตัดผ่านกล้อง ตรงจุด ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ดูแลรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อุ่นใจ คลายความกังวล
การผ่าตัดผ่านกล้องรักษาโรคใดได้บ้าง
- การผ่าตัดผ่านกล้องรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ
- การผ่าตัดผ่านกล้องรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี
- การผ่าตัดผ่านกล้องรักษาโรคไส้เลื่อน
- การผ่าตัดผ่านกล้องตัดก้อนเนื้องอกมดลูก และ/หรือ รังไข่
- การผ่าตัดผ่านกล้องรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม เอ็นไขว้หน้าหัวเข่าฉีกขาด
การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้อง
- ผู้ป่วยควรทราบวิธีการผ่าตัดผ่านกล้องคร่าวๆ และให้ความร่วมมือกับแพทย์
- หากมีโรคประจำตัว หรือ ประวัติการแพ้ยาควรแจ้งก่อน เพราะว่าอาจจะมีผลต่อการผ่าตัด
- ควรงดการดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ ก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
- เตรียมร่างกายก่อนการผ่าตัด โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
การปฏิบัติตัวหลังจากการเข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้อง
- ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ลุกเดินบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพังผืดในช่องท้อง
- ไม่ควรทำงานหนักหรือยกของหนัก
- หากเกิดความผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที
- ตรวจร่างกายตามวันและเวลาที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นตอนการผ่าตัดผ่านกล้อง
- หลังจากที่ผู้เข้าการรักษาดมยาสลบแล้ว แพทย์จะทำการเจาะรูขนาดเล็ก ประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ใกล้บริเวณอวัยวะที่ต้องการผ่าตัด จำนวน 1-4 รู
- จากนั้นจะสอดท่อที่มีไฟฉาย และกล้องขนาดเล็ก เพื่อบันทึกภาพอวัยวะภายในส่งมายังจอมอนิเตอร์ ซึ่งตัวกล้องมีความชัดเจน แม่นยำสูง
ข้อจำกัดของการผ่าตัดผ่านกล้อง
- ตัวผู้ป่วย มีโรคประจำตัวหรือปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ, น้ำหนักตัวมาก BMI>30
- ตัวโรค ก้อนมะเร็งที่ลุกลามหรือมีภาวะอักเสบรุนแรงในช่องท้องก่อนผ่าตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศัลยแพทย์เป็นผู้ตัดสินใจว่าควรเปลี่ยนจากผ่าตัดผ่านกล้องมาเป็นเปิดหน้าท้องแทนดีหรือไม่
เคลียร์ให้ชัดทุกข้อสงสัย “ ผ่าตัดส่องกล้อง” กับ “ ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง”
- สูญเสียเลือดน้อยกว่า 10 เท่า การผ่าตัดส่องกล้องจะเสียเลือดขณะผ่าตัด ประมาณ 5-10 มิลลิลิตร ส่วนการผ่าตัดเปิดหน้าท้องจะเสียเลือดขณะผ่าตัดประมาณ 500-2000 มิลลิลิตร
- ขนาดแผลเล็กกว่าเท่าตัว การผ่าตัดส่องกล้องจะมีแผลขนาดประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ส่วนการผ่าตัดเปิดหน้าท้องจะมีแผลยาวประมาณ 12-20 เซนติเมตร
- ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า ในกรณีความเจ็บปวดของ “ การผ่าตัดส่องกล้อง” ขึ้นอยู่กับแผลที่ผ่าตัดด้วยนะคะ แต่โดยรวมแล้ว ความเจ็บปวดน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
การเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดผ่านกล้องกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
ปัจจัย | 1.การผ่าตัดผ่านกล้อง | 2.การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง |
---|---|---|
ปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัด | 5-10 มิลลิลิตร | 500-2000 มิลลิลิตร |
ขนาดของแผล | ขนาด 6-8 มิลลิเมตร จำนวน 3-4 รู | 12-20 เซนติเมตร |
ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด (ตามขนาดแผล) | น้อย | มาก |
เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล | 2-3 วัน | 3-4 วัน |
ทักษะของศัลยแพทย์ | ศัลยแพทย์เฉพาะด้าน ที่ฝึกผ่าตัดผ่านกล้องโดยเฉพาะ | ศัลยแพทย์เฉพาะด้าน |
ข้อจำกัดของผู้ป่วย | ต้องไม่เคยผ่าตัดช่องท้อง | – |
ตัวอย่างแผลจากการผ่าตัด |
แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดผ่านกล้อง
นาวาอากาศโท นายเเพทย์ ทรงพล สนธิชัย
สาขา: อนุสาขามะเร็งนรีเวชวิทยา
นพ. พงศธร ภัคยานนท์
สาขา: ศัลยศาสตร์ทั่วไป
นพ. นิลพันธุ์ นิลสุ
สาขา: ศัลยศาสตร์ทั่วไป
ผ่าตัดผ่านกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว⁉️👨🔬👩🔬
#ผ่าตัดผ่านกล้อง #รักษาโรคอะไรได้บ้าง #ไปดูกัน…โพสต์โดย โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เมื่อ วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2020