ตรวจ COLOTECT คืออะไร?
COLOTECT ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในระยะเริ่มต้น เป็นวิธีไม่รุกล้ำ ไม่ต้องส่องกล้อง และมีความไวสูง (High sensitivity) โดยการตรวจหา DNA ที่มีความผิดปกติจากอุจจาระ ด้วยเทคนิค Multiplex methylation specific PCR ที่จำเพาะต่อความผิดปกติในกระบวนการ Methylation ของ CRC marker genes
ทำไมเราต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง?
เพราะอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจะสูงถึง 90% หากตรวจพบเร็วและได้รับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรก แต่เมื่ออยู่ในระยะที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น อัตราการรอดชีวิตจะเหลือเพียง 10% ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงสำคัญมาก เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง : พบมากเป็นลำดับที่ 4 ในอเมริกา(2021) : พบผู้ป่วยใหม่ 106,180 (มะเร็งลำไส้) และ 44,850 (มะเร็งไส้ตรง)
- อัตราการเสียชีวิต 100,000 ราย/ปี
- มะเร็งลำไส้เป็น 1 ใน 5 มะเร็งที่พบมากในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 10,000 ราย/ปี และมีอัตราการเสียชีวิต 6,845 ราย/ปี (ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
- เป็นมะเร็งที่พบในเพศชายมากเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 20.7%
- พบในเพศหญิงมากเป็นอันดับ 2 คิดเป็น 12.2% (ที่มา : หนังสือทะเบียนมะเร็ง พ.ศ.2563, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)
- อายุ >50 ปี (+11%) ทุกคนมีความเสี่ยง
- อายุ > 50 ปี + ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ (+20%)
ปัจจุบันวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่นิยม มี 3 วิธี ได้แก่
1. การส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
ตรวจทุก ๆ 10 ปี (ผู้มีความเสี่ยงปกติ)
ข้อดี:
- เป็นวิธีมาตรฐาน ในการตรวจคัดกรอง
- มีความไวและความแม่นยำสูง
- หากพบ Polyps ขนาดไม่ใหญ่ ระหว่างตรวจสามารถตัดออกได้เลย
ข้อจำกัด:
- เป็นการตรวจแบบรุกล้ำ
- ต้องมีการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า เช่น ทานอาหารอ่อน, ให้ยาระบาย ฯลฯ
- ต้องให้ยาสลบก่อนการตรวจ
- มีราคาสูง
2. การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FOBT)
ตรวจทุก ๆ ปี
ข้อดี:
- เป็นการตรวจแบบไม่รุกล้ำ
- ราคาถูก
- สามารถเก็บตัวอย่างอุจจาระได้เองที่บ้านหรือสถานพยาบาล
- ใช้งานง่าย
ข้อจำกัด:
- มีความไวในการตรวจพบระยะก่อนมะเร็งค่อนข้างต่ำ (<65%)
- มีโอกาสเกิด False Negative ในผู้ป่วยที่ยังไม่มีเลือดออก
3. การหาความผิดปกติจาก DNA ในอุจจาระ (Stool-DNA test)
ตรวจทุก ๆ 3 ปี/ครั้ง
ข้อดี:
- เป็นการตรวจแบบไม่รุกล้ำ
- เชื่อถือได้มากขึ้น : ความไวสูงถึง 87 – 92% ในระยะก่อนมะเร็งและมะเร็งระยะเริ่มต้น
- ใช้ DNA ที่ปะปนมากับอุจจาระในการตรวจวิเคราะห์ จึงสามารถตรวจได้ในผู้ที่ไม่มีเลือดออก
- สามารถเก็บตัวอย่างอุจจาระได้เอง
ข้อจำกัด:
- ราคาสูงกว่า FOBT (แต่ราคาถูกกว่า colonoscopy)
ข้อดีของ COLOTECT
- ตรวจง่าย ๆ แค่เพียงเก็บอุจจาระ
- ไม่ถูกเครื่องมือรุกล้ำเข้าในร่างกายโดย
- ไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ
- มีความไวสูง ในการตรวจพบมะเร็งลำไส้ในระยะเริ่มต้นถึง 88% และ 42% ในการตรวจ Advanced Adenoma
- มีความแม่นยำสูง จำเพาะต่อมะเร็งลำไส้ถึง 92%
- ตรวจวิเคราะห์ครอบคลุม สามารถตรวจวิเคราะห์ยีนเป้าหมายได้ภายใน 1 การตรวจ
- มีคุณภาพสูง ผลิตจากโรงงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 13485
วิธีการตรวจ COLOTECT
- เก็บตัวอย่างอุจจาระ
- ส่งสิ่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
- ทำการวิเคราะห์โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ
- ระยะเวลารอผล 7 วัน
- ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์
- พบแพทย์รับฟังผลตรวจพร้อมคำแนะนำการดูแลสุขภาพ
Colotect เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงที่ไม่รุกล้ำ มีความไวและความแม่นยำสูง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้นอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ การรู้ผลเร็วและแม่นยำช่วยให้เราสามารถดำเนินการป้องกันหรือรักษาได้อย่างทันท่วงที เพิ่มโอกาสรอดชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ติดต่อสอบถามได้ที่
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
โทร. 093-328-5561 หรือ 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170