การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
- การตรวจลักษณะของเซลล์แบบ PAP SMEAR ที่เป็นวิธีดั้งเดิม มีความไวในการตรวจพบเชื้อไวรัสเอชพีวีอยู่ที่ 50-55%
- การตรวจแบบ HPV DNA เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกโดยตรง โดยมีความไวในการตรวจพบเชื้อไวรัสเอชพีวีถึง 90-95%
ซึ่งวิธีการตรวจเชื้อเอชพีวีนี้ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- ขึ้นขาหยั่งให้บุคลากรทางการแพทย์ตรวจ
- รูปแบบใหม่ที่สามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง คล้ายกับ ATK ที่ทุกคนคุ้นเคยกันแล้ว
วันนี้เราจะพูดถึงการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง
- เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ง่ายคล้ายกับ ATK ที่ทุกคนคุ้นเคยกันแล้ว มีไม้สำหรับการเก็บตัวอย่างในช่องคลอดคล้ายกับไม้แหย่จมูกของ ATK เพียงแต่ไม่สามารถตรวจเชื้อได้ทันที แต่ต้องเก็บใส่กล่องแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปตรวจในแล็บ
- โดยช่วงเวลาที่ทำการตรวจ ผู้ตรวจต้องมีสุขภาพดีไม่มีอาการปวดท้องน้อย หรือต้องหลังมีประจำเดือนอย่างน้อย 7 วัน
- หลังการตรวจแล้วหากไม่พบเชื้อ อีก 5 ปีค่อยตรวจใหม่อีกครั้ง
- แต่หากตรวจพบเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์ก่อมะเร็งที่มีความเสี่ยง (สายพันธ์ 16, 18) จะต้องมาพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจด้วยการส่องกล้องปากมดลูกต่อไป
- หรือหากพบเชื้อสายพันธ์ก่อมะเร็งที่ไม่มีความเสี่ยง จะตรวจเซลล์วิทยาต่อ หากพบความผิดปกติจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
- แต่หากไม่พบความผิดปกติจะติดตามอาการอีกครั้งในปีถัดไป ซึ่งจะทำให้รักษาได้อย่างรวดเร็ว
- แนะนำผู้หญิง ที่อายุ 25-30 ปี ให้เริ่มตรวจมะเร็งปากมดลูก ซึ่งถือว่าช่วงอายุระหว่างนี้ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้หญิงที่มีครอบครัวตั้งแต่อายุยังน้อย ก็ไม่ต้องรอจนถึงอายุ 25 ปี