การหยุดหายใจขณะนอนหลับ อันตรายอย่างไร?

สาเหตุ ของการเกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับ

  1. เกิดจากศูนย์ควบคุมการหายใจไม่ทำงาน
  2. ทางเดินหายใจอุดกั้น ขณะนอนหลับ Obstructive Sleep Apnea

โครงสร้างทางเดินหายใจ ประกอบด้วย ประกอบด้วย จมูก หรือปาก โพรงจมูก ช่องปาก คอหอย คอ หลอดลมส่วนบน ขณะตื่นกล้ามเนื้อที่ช่วยในเรื่องระบบหายใจจะตึงตัว แต่เมื่อขณะหลับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจจะหย่อนตัวและทำให้เกิดการอุดกั้นได้ มักจะพบในคนที่

  • อ้วนมากๆ คนอ้วนก็จะมีไขมันสะสมบริเวณคอ แต่คนผอมก็พบเจอได้เช่นกัน
  • เด็กก็จะมีการตีบแคบ สาเหตุมาจากต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์โต
  • ภูมิแพ้มากๆ
  • คนเอเชียรูปร่างกะโหลกเล็กกว่า พบเจอได้มากกว่าคนตะวันตก

ผลเสียที่จะเกิดคือ ร่างกายก็จะขาดออกซิเจนได้ สังเกตด้วยการทดสอบกลั้นหายใจขณะนอนหลับ จะรู้สึกว่าอึดอัดมากเนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน และเกิดปัญหาคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ในคนที่มีปัญหา OSA คือหยุดหายใจขณะนอนหลับร่างกายจะขาดออกซิเจนซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง จนทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยได้

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิด OSA ได้มากขึ้น

  1. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  2. รับประทานยานอนหลับ
  3. รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ

โรคและอันตรายที่เกิดจากการขาดออกซิเจนเป็นระยะเวลานาน OSA

  • ความดันโลหิตสูง
  • เส้นเลือดหัวใจตีบ
  • หัวใจวาย เต้นผิดจังหวะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • หงุดหงิดง่าย เป็นประจำ
  • สมาธิความจำลดลง
  • โรคสมาธิสั้นในเด็ก
  • เด็กก้าวร้าว
  • ง่วงหลับในเวลาเรียน
  • อุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดจากการหลับใน

อาการที่สังเกตว่ามีปัญหานอนกรน

  1. ตื่นมาแล้วรู้สึกเจ็บคอ คอแห้ง
  2. มีกลิ่นปาก ปากเหม็น
  3. ง่วงนอน ไม่สดชื่น
  4. ต้องดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลังอยู่ประจำ
  5. ตื่นมาปวดหัว มึนหัว
  6. หลับในที่ประชุม / อ่านหนังสือเผลอหลับ
  7. หลับในขณะทำกิจกรรม
  8. เป็นเบาหวานคุมไม่ได้
  9. เป็นความดันโลหิตสูงคุมไม่ได้
  10. ฝันร้าย / ฝันว่าตกจากที่สูง หรือตกเหว
  11. สะดุ้งตื่น เฮือกตอนกลางคืน
  12. คนใกล้ชิดบอกว่ามีเสียงกรนขณะนอนหลับ

การรักษา OSA

  1. ลดน้ำหนัก
  2. ใช้เครื่อง CPAP ขณะนอนหลับ
  3. การผ่าตัดต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์ในเด็ก
  4. งดหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. ใส่อุปกรณ์ทันตกรรมขณะนอนหลับในบางราย

การกรนไม่ใช่แค่เรื่องตลก ขำขัน แต่เป็นปัญหาที่ต้องรีบตรวจ และรีบจัดการปัญหาเหล่านั้น เพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาให้ถูกวิธี จากแพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์ระบบหายใจ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายเพื่อรับบริการตรวจ Sleep Test ได้ที่

คุณปรียาลักษณ์ พยาบาลวิชาชีพ

หัวหน้าแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม

โทร. 096-932-5936