ข้อสะโพกหลวม เป็นโรคที่เกิดจากผิวข้อสะโพกถูกทำลาย อาจเกิดภาวะหัวกระดูกสะโพกตายจากการขาดเลือด ภาวะข้อสะโพกผิดรูปแต่กำเนิด ภาวะหัวสะโพกและเบ้าสะโพกไม่พอดีกัน การอักเสบของข้อสะโพก การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้มีกาบาดเจ็บต่อกระดูกและเนื้อเยื่อรอบข้อสะโพก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ปริมาณมากติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร
- ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก หรือบริเวณรอบ ๆ สะโพก เช่น บริเวณขาหนีบ บริเวณต้นขา หรือบริเวณก้นกบ
- มีอาการข้อติด ข้อยึด ข้อฝืด ขยับไม่ค่อยได้ ขยับข้อ งอ เหยียด อ้าหุบได้น้อยลง
- รู้สึกมีอะไรไปขัดอยู่ในข้อ มีอาการล็อค ต้องสะบัดตัวถึงจะหลุด
- เมื่อมีการขยับข้อสะโพกจะมีเสียงดังครืดคราด
- รู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนในการขยับข้อสะโพก เช่น การเดิน การขึ้นลงบันได การนั่งกับพื้น หรือการเล่นกีฬา เป็นต้น
ใครที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
- คนที่มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก
- คนที่กินยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
- ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุข้อหลุดหรือเป็นรูมาตอยด์ โรคข้อยึดติดแข็ง และโรคติดเชื้อ
- ในวัยเด็กอาจเป็นโรคนี้ได้ เช่น สะโพกหลวมโดยกำเนิดหรือเบ้าสะโพกตื้น จนทำให้ข้อหลวมหรือหลุด รวมทั้งอาจเป็นโรคเยื่อกระดูกเจริญผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือหลังคด ข้อขยับหรือหมุนได้น้อย ทำให้ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน
การรักษาและป้องกัน
- ปรับกิจวัตรประจำวัน โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่มีแรงกระทำต่อข้อสะโพก เช่น การขึ้นลงบันได การนั่งพื้น การเดิน การวิ่ง การกระโดด หรือกีฬาประเภททำให้เกิดกระแทกมากเกินไป แล้วหันมาออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอและลดแรงกระแทก เช่น การปั่นจักรยาน การเดิน การเดินในน้ำ เป็นต้น
- การลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกดบนข้อ
- การใช้ไม้เท้าหรืออุปกรณ์เสริมในการช่วยเดิน
- การทำกายภาพบำบัด เช่น การใช้ความร้อนและความเย็น เพื่อลดอาการปวด
- การรับประทานยา เช่น ยาลดอาการปวด ยาลดอาการปวดและอักเสบ
หากการรักษาในข้างต้นไม่ได้ผลดี สุดท้ายอาจจะต้องทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดมีแบบการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม