ความดันต่ำ หรือ ความดันโลหิตต่ำ ไม่ใช่โรค เป็นเพียงภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท เกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย มักพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ภาวะความดันต่ำทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันส่งผลทำให้ไปล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ความดันโลหิตที่เหมาะสมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน สำหรับตัวบนจะอยู่ที่ 120-129 (mm/Hg) และตัวล่างอยู่ที่ 80-84 (mm/Hg)
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ ความดันต่ำ
- ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน วิตามินซี วิตามินบี
- เสียเลือดแบบกะทันหัน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ
- เสียเลือดแบบสะสม เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต
- เสียน้ำในร่างกายแบบกะทันหัน เช่น ท้องเสีย
- ออกกำลังกายแบบหักโหม
- เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง
- เป็นโรคหัวใจ
- หญิงตั้งครรภ์
- อยู่ในภาวะซึมเศร้า
- พักผ่อนน้อย
- อยู่กลางแดดเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ทานน้ำ
อาการของภาวะโลหิตต่ำ
- หายใจตื้นและถี่
- วิงเวียนศีรษะ
- มีอาการหน้ามืดหรือทรงตัวไม่อยู่ เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถเร็ว
- คลื่นไส้อาเจียน
- มีอาการใจสั่น ใจเต้นแรงกว่าปกติ
- กระหายน้ำ
- ขาดสมาธิ มองเห็นภาพซ้อน
- หาวติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง
- ตัวเย็น หนาวสั่น
ข้อแนะนำเพื่อไม่ให้เกิดภาวะโลหิตต่ำ
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วน ไม่เน้นแป้ง และของมัน
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่เปลี่ยนท่าทางเร็วเกินไป เช่น ลุกเร็ว ออกกำลังกายโดยไม่วอร์มร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำ
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่