บุหรี่ไฟฟ้า (ELECTRIC CIGARETTE) เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำ ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป

 

ส่วนของน้ำยาที่ถูกทำให้เป็นไอ เข้าสู่ร่างกาย จะมีสารประกอบหลัก คือ  

1. นิโคติน เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่
2. โพรไพลีนไกลคอล ทำให้เกิดอาการไอ
3. กลีเซอรีน เป็นสารเพิ่มความชื้น เมื่อผสมกับสารโพรไพลีนไกลคอล  ทำให้เกิดอาการไอ
4. สารแต่งกลิ่นและรส เป็นสารเคมีที่ใช้กับอาหารทั่วๆ ไป แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า เมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบแล้ว จะเกิดผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร

สารเคมีต่าง ที่พบในน้ำยา ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น

นิโคติน  กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง

เพิ่ม : ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ
เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง : มะเร็งปอด ช่องปาก หลอดอาหาร ตับอ่อน
โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
กระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของรคเบาหวาน  
กระตุ้นจำนวนเซลล์ผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง
ในหญิงตั้งครรภ์ นิโคตินส่งผลต่อพัฒนาการ ของสมองทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
สารนิโคติน ทำให้เกิดการเสพติด ไม่ต่างจากบุหรี่ธรรมดา

 

โพรไพลีนไกลคอล / สาร Glycerol/Glycerin 

เมื่อสูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้พบมากในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง

และสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่ม Formaldehyde, Benzene เป็นต้น จากการวิจัยยังพบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างได้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง

 

เทียบกับบุหรี่ธรรมดาแล้วบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าหรือน้อยกว่า?

ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่ร่างกายจะขับออกมาได้

บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นของใหม่ ยังไม่มีข้อมูลวิจัยที่มากพอที่จะยืนยันถึงอันตรายของสารเคมีแต่ละตัวในบุหรี่ไฟฟ้า กรณีใช้ไปนานๆ ยังไม่มีข้อมูลว่าอันตราย  แต่ไม่ใช่แปลว่าไม่มีอันตราย จะต้องติดตามศึกษากันต่อไปก่อน