ง่วงนอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ เกิดจากอะไรนะ 

เชื่อว่าทุกคนเคยเจออาการเหล่านี้ไม่มากก็น้อย นั่นก็คือ ‘ง่วงนอนทั้งวัน’ ‘นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ’ ซึ่งอาการอ่อนเพลียเหล่าหลายคนมักเข้าใจว่าเกิดจากการนอนหลับไม่เพียงพอ ที่จริงแล้วอาการง่วงนอนแบบนี้เกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากพฤติกรรมของตนเอง หรือผลกระทบจากปัญหาสุขภาพนั่นเอง

อาการแบบไหนที่เรียกว่านอนไม่พอ

  1. ขี้เซา หลับแล้วตื่นยากมาก ๆ
  2. หัวไม่แล่น เฉื่อยชา สมองล้าทั้งวันเหมือนนอนไม่พอ
  3. สามารถนอนได้ทั้งวัน มีอาการง่วงระหว่างวัน และงีบหลาย ๆ ครั้งในแต่ละวัน
  4. มีอาการหงุดหงิด สับสนเมื่อถูกปลุกในระหว่างที่ถูกปลุก
  5. ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น อยากนอนต่ออีกเรื่อย ๆ

สาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ 

  1. เกิดจากการนอนกรน
  2. น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  3. ติดแอลกอฮอล์
  4. ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองหรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
  5. ยาคลายเครียด
  6. ใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาแก้คลื่นไส้
  7. เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่สมองไม่พอ

เสี่ยงโรคอะไรบ้าง 

เสี่ยงโรคนอนเกิน เป็นโรคที่หลับเกินพอดี หรือโรคขี้เซา ที่ยิ่งนอนเท่าไหร่ก็รู้สึกว่าไม่พอ และจะนอนหลับยาวเกิน 8 ชั่วโมงขึ้นไป มีอาการเฉื่อยชา, ไร้ชีวิตชีวา อีกทั้งยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการโรคซึมเศร้าได้ง่ายถึง 49% ซึ่งมากกว่าคนปกติ และส่งผลเสียในระยะยาว เสี่ยงการมีอาการของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น

  1. ทำร้ายสมอง เพราะจะทำให้สมองเฉื่อยชา คิดอะไรก็จะช้ากว่าปกติ
  2. น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย ส่งผลให้มีโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ, ความดัน, เบาหวาน
  3. กลายเป็นคนซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนง่ายกว่าปกติ
  4. ภาวะมีบุตรยาก เพราะในส่วนของฮอร์โมน และรอบเดือนของผู้หญิงจะเป็นปกติก็ต่อเมื่อได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ
  5. เสี่ยงต่อสภาวะ การหยุดหายใจเฉียบพลัน (ไหลตาย) เพราะเนื้อสมองตายเนื่องจากการดับไปของสัญญาณสมองที่นานเกินเวลาของคนปกติ

แก้ไขอย่างไรได้บ้าง 

  • เปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับ
  • ออกกำลังกายวันละ 30 นาที จะสามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  • ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ร่างกายทำงานหนักขึ้นจนเกิดความอ่อนเพลียและง่วงนอนระหว่างวัน
  • ลดความเครียด เพราะเครียดเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย
  • ดื่มน้ำมาก ๆ การได้รับน้ำที่เพียงพอจะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นมากขึ้น
  • รักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ หากง่วงนอนทั้งวันยังไม่หายหลังจากที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปแล้ว การปรึกษาแพทย์จะเหมาะสมที่สุด เพราะอาจแฝงปัญหาสุขภาพที่เราอาจไม่ทราบมาก่อนได้