โรคสะเก็ดเงิน   เป็นโรคที่ไม่ติดต่อไม่แพร่กระจาย เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เกิดการหนาตัวขึ้นของชั้นหนังกำพร้า เป็นตุ่มหรือปื้นแดงๆ  มีขุยหรือสะเก็ดขาวติดอยู่ มักเกิดกับผิวหนังบริเวณที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ รวมทั้งที่ศีรษะและเล็บด้วย และพบว่าจำนวน 30% ของผู้ป่วย #โรคสะเก็ดเงิน  จะเชื่อมโยงกับประวัติทางพันธุกรรมในครอบครัว

 

สาเหตุของ โรคสะเก็ดเงิน

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด  มักเชื่อมโยงกับพันธุกรรม ความผิดปกติใน metabolism และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง การแบ่งตัวเร็วกว่าปกติหลายเท่า และเซลล์ผิวหนัง เคลื่อนตัวมาที่ผิวนอกภายในเวลา 4วัน ในขณะที่เซลล์ปกติใช้ระยะเวลา 28 วันจึงพบว่ามีผิวหนังหนา เป็นปื้น และลอกตัวเป็นขุย อาการ #โรคสะเก็ดเงิน จะสอดคล้องกับความเครียด การติดเชื้อ การได้รับการบาดเจ็บ รอยขูดขีดผิวหนัง แสงแดด และแพ้ยาบางชนิด

 

อาการสะเก็ดเงิน

ส่วนมากจะเริ่มต้นจากอาการมีขุย บนหนังศีรษะ ตุ่มแดงขอบเขตชัดเจน และมีขุยสีขาว (สีเงิน) อยู่ที่ผิว และตุ่มจะค่อยๆขยายออกจนกลายเป็นปื้นใหญ่และหนาตัวขึ้นเป็นสะเก็ดสีเงิน ลักษณะปื้นหนาซึ่งเป็นเรื้อรัง ขึ้นๆ ยุบๆอยู่ตลอดเวลา ไม่หายขาด มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ มักเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งตัว และมักเกิดตามหลังการติดเชื้อ Streptococci ในทางเดินหายใจ

  1. ลักษณะเป็นปื้นแดงค่อนข้างแฉะ ข้อพับของร่างกาย แยกยากจากโรคติดเชื้อรา โดยเฉพาะ Penile psoriasis จะแยกยากจากสาเหตุอื่นของ Balanitis
  2. ผื่นแห้งหนามีขุยมาก

มักจะพบที่หนังศีรษะ และผิวหนังส่วนที่เป็นปุ่มนูนของกระดูก เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ก้นกบ หน้าแข้ง เล็บ เช่น เล็บเป็นหลุม ตัวเล็บขรุขระ เล็บแยกตัวออกจากผิวหนัง ผิวใต้เล็บหนา มักเกิดร่วมกับข้ออักเสบและเนื้อเยื่อขอบเล็บอักเสบ

 

วิธีการรักษา

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่รักษาแล้วไม่หายขาด แต่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ก็สามารถควบคุมให้รอยโรคหายไปได้หรือปรากฏได้น้อยที่สุด เพราะโรคนี้ส่งผลต่อความรู้สึก ภาพลักษณ์ และการถูกยอมรับจากสังคมส่งผลให้เกิด ความเครียดและเมื่อเกิดความเครียดอาการของโรคก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษา 3 ประเภท ได้แก่

 

การรักษาด้วยยาทา

มีความสำคัญในเวชปฏิบัติทั่วไปมากที่สุด เพราะเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูงวิธีนี้จะเหมาะกับรอยโรคที่เป็นไม่มากนักประมาณ ร้อยละ25 ของพื้นที่ผิวกาย ยาที่ใช้ได้แก่

  • Topical steroid เช่น Betamethasone ,Triamcinolone เป็นต้น
  • Coal tar ชนิด 1-5% ทาวันละ 1-2 ครั้ง ช่วยให้รอยโรคยุบได้ เพราะมีฤทธิ์ Antimitotic
  • Anthralin มีฤทธิ์ทำให้รอยโรคที่เป็นปื้นหนา ยานี้ห้ามใช้กับใบหน้าและผิวอ่อน
  • Calcipotriol ointment มีฤทธิ์ลดการแบ่งตัวของเซลล์ในชั้น epidermis และลด Chemotaxis ของ Neutrophill ทำให้รอยโรคยุบลงได้ ข้อดีคือ ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง ข้อเสีย มีฤทธิ์ระคายเคืองค่อนข้างสูงและราคาแพง

 

การรักษาด้วยยากินและยาฉีด

การรักษาด้วยยากินและยาฉีดมักจะมีผลข้างเคียงมาก เฉพาะผู้ป่วยที่มีรอยโรคมาก > 20% ของพื้นที่ผิวร่างกายสำหรับผู้ป่วยที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยาทา หรือผู้ป่วยที่มีชนิดของโรคที่รุนแรง โดยการรักษานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ซึ่งมีความชำนาญเฉพาะ

 

การรักษาด้วยแสง

แสงแดดจะช่วยให้รอยโรค #โรคสะเก็ดเงิน ดีขึ้น แนะนำให้ผู้ป่วยตากแดดโดยค่อยๆเพิ่มปริมาณแสงแดดขึ้นจนถึงระดับที่เหมาะสม คือรอยโรคดีขึ้น โดยไม่มีการไหม้เกรียมของผิวหนัง แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยากเนื่องจากแสงแดดในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน การรักษาด้วยแสง (Light therapy) ทำได้เฉพาะโรงพยาบาลที่มีเครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเล็ต ซึ่งแพทย์อาจใช้แสง UVB (ความยาวคลื่น 290-320 nm) เรียกว่า UVB phototherapy หรือใช้ UVA (320-400 nm) ร่วมกับการกินยา psoralen ที่เรียกว่า PUVA therapy ผู้ป่วยต้องมารับการฉายแสงที่โรงพยาบาลสัปดาห์ละประมาณ 3 ครั้ง ในผู้ป่วยส่วนใหญ่รอยโรคจะดีขึ้นในเวลา 1-2 เดือน

 

การรักษาด้วยการทำ Double Filtration Plasmapheresis (DFPP)

เป็นกระบวนการทำให้เลือดสะอาดบริสุทธิ์ โดยกำจัดพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดโรคออกจากกระแสเลือด (อาทิเช่น ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ไวรัส สารก่อภูมิแพ้ ไขมันคอเรสเตอรอล และอื่นๆ ) เลือกตัวกรองที่มีความเฉพาะเจาะจงตามลักษณะอาการของโรค โดยใช้ตัวกรองสองตัว ซึ่งจะแยกน้ำเหลืองออกจากเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว น้ำเหลืองที่ถูกกรองจากตัวกรองตัวแรกจะไหลผ่านตัวกรองที่สอง ซึ่งจะกรองเอาพยาธิสภาพ ที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งมีขนาดของโมเลกุลขนาดใหญ่ ตัวกรองที่สองนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะต้องใช้ตัวกรองที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อโรคนั้นๆ อาทิเช่น ตัวกรองภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เชื้อไวรัส ตัวกรองสารก่อภูมิแพ้ ตัวกรองไขมันคอเรสเตอรอล สารอักเสบ เป็นต้น จะได้น้ำเหลืองที่ใสและบริสุทธิ์ก็จะไหลไปรวมกับเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด กลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนเลือดของผู้ป่วยต่อไป เมื่อเลือดที่ไหลกลับเข้าไปมีความใสสะอาด ก็จะทำให้อาการของโรคสงบลง ลดผื่นปื้นแดง สะเก็ดขุย อาการคันลดลง และกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ โดยอาจจะพิจารณาทำซ้ำ ทุก 6 เดือน หรือเมื่อมีอาการกำเริบซ้ำ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คุณปรียาลักษณ์
หัวหน้าแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม
โทร. 096-932-5936