
คลินิกกัญชาทางการแพทย์
ที่ตั้ง
อาคาร C ชั้น 1
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
เวลาทำการ
เวลา 07:00 – 19:00 น.
เบอร์ติดต่อ
โทร. 02-115-2111
ต่อ 1169, 1170
หรือ 093-328-5561
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง
โทร. 02-115-2111
ต่อ 1212
หรือ 093-817-5138

กัญชาทางการแพทย์ เพื่อการรักษาชีวิตและความหวัง ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วย
มาตรฐานการผลิต สารกสัดน้ำมันกัญชา Medical grade
สารในกัญชาที่ใช้ทางการแพทย์ ประกอบด้วย THC ย่อมาจาก Tetrahydrocannabinol มีฤทธฺิ์ต่อจิตประสาท ช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม นอนหลับง่าย และลดอาการตึงเครียดได้ และ CBD ย่อมาจาก Cannabidiol สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบของแผล ลดความเจ็บปวดลง ลดอาการคลื่นไส้ ลดอาการชักเกร็ง อีกทั้งยังสามารถต่อต้านยับยั้งเซลล์มะเร็งและสารอื่นๆ อีกกว่า 400 ชนิด โดยจะใช้กรรมวิธีการสกัดให้ได้ปริมาณสารสำคัญเป็นไปตามที่ต้องการและสม่ำเสมอ, ปราศจากเชื้อก่อโรค, ยาฆ่าแมลง และปราศจากการปนเปื้อนของสารโลหะหนัก
ข้อบ่งใช้และข้อห้ามในการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์
ปัจจุบันประชาชนและผู้ป่วยจำนวนมากมีความสนใจและมีความประสงค์จะใช้สารสกัดกัญชาในการบำบัดรักษา บรรเทาอาการของโรคหรือฟื้นฟูสุขภาพ แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมืออาชีพในการพิจารณาว่าสารสกัดกัญชาเป็นการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายหรือไม่ โดยจะต้องศึกษาข้อมูลด้านวิชาการที่เป็นปัจจุบัน ก่อนที่จะเลือกสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วย และจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองด้านคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น ทั้งนี้ในกรณีที่ยังไม่มีเหตุผลทางการแพทย์ที่เพียงพอ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับการรักษาโดยใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ดังกล่าวได้
ข้อบ่งใช้ของกัญชาในทางการแพทย์
- รักษาโรคภาวะคลื่นไส้/อาเจียนจากยาเคมีบำบัด (Chemotherapy-Induced Nausea and Vomiting)
- รักษาโรคภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Spasticity)
- ฟื้นฟูกล้ามเนื้อสำหรับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis) บรรเทาอาการปวดเฉียบพลันให้กับผู้ป่วยโรคภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- รักษาโรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา (Refractory Epilepsy) ได้แก่ Dravet syndrome, Lennox-Gastaut syndrome
- รักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
- รักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- รักษาโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ ทั้งในโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำและโรคผิวหนังอักเสบ (Skin disease)
- รักษาโรคภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)
- รักษาโรควิตกกังวล (Anxiety disorder)
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ที่มีน้ำหนักน้อย (Cachexia)
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต (End of life)
แต่ละรูปแบบของการรักษา ให้ปริมาณความเข้มของสารแคนนาบินอยด์ที่ไม่เหมือนกัน และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล
ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่
- กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา
- โรคหัวใจและหลอดเลือด/โรคตับ/โรคไตที่รุนแรง
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคจิตเภท/โรคจิตจากสารเสพติด/โรคซึมเศร้า/โรคอารมณ์สองขั้ว
- มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เปิดให้บริการคลินิกกัญชา อีกหนึ่งการแพทย์ทางเลือกที่ใช้ กัญชา ในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยและโรคต่างๆ ด้วยมาตรฐานความปลอดภัย ที่ผ่านการอบรมการใช้กัญชาทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และได้รับการขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถเป็นผู้สั่งใช้หรือสั่งจ่ายกัญชาทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้อง


สารสกัดกัญชาชนิด THC
ในเวลาเพียง 1 ปี หลังจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวของในประเทศไทยได้ร่วมกันพัฒนาการผลิต สารสกัดจากกัญชาเพื่อนำมาใช้ทางการแพทย์อย่างปลอดภัย โดยเริ่มตั้งกระบวนการปลูกกัญชาแบบปลอดสารพิษ สกัดด้วยกระบวนการที่สะอาด ได้คุณภาพ ในเวลานี้ประเทศไทยได้มีสารสกัดกัญชาออกมาใช้ทางถูกต้องตามกฎหมาย และผ่านองค์การอาหารและยาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน สารสกัดกัญชาที่ออกมาใช้ในการรักษา ยังคงเป็น สารสกัดกัญชาชนิด THC (delta-9-THC) เป็นส่วนประกอบหลัก เรียกว่า THC oil
โดยผู้ที่สามารถให้การรักษาด้วย THC oil นั้นคือแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย ที่ได้รับการอบรมและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตการสั่งยา THC oil เท่านั้น ไม่ใช่แพทย์ทุกคนสามารถสั่งจ่ายได้
ข้อบ่งชี้ของการรักษาทางแพทย์ปัจจุบัน ในการรักษาด้วย THC oil มีดังนี้คือ
ข้อบ่งชี้โรค/อาการสำคัญที่มารักษาคือ
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก หรือดื้อต่อการรักษา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะปวดประสาทส่วนกลางที่ดื้อต่อการรักษา
ผู้ป่วยที่น่าจะได้ประโยชน์จาก THC oil
- โรคพาร์คินสัน
- โรคอัลไซด์เมอร์
- ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่นๆ
- โรคมะเร็งระยะสุดท้าย ที่มีอาการปวดมาก
และในส่วนข้อบ่งชี้ของแพทย์แผนไทยคือ การนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เครียด เป็นต้น