คลินิกอายุรกรรมโรคข้อและรูมาติสซั่ม

ที่ตั้ง

คลินิกอายุรกรรมโรคข้อและรูมาติสซั่ม
อาคาร C ชั้น 1
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

เวลาทำการ

วันจันทร์ – อาทิตย์
เวลา 09:00 – 16:00 น.
 

เบอร์ติดต่อ

โทรศัพท์
02-115-2111 ต่อ 1200, 1201
หรือ 081-311-7076
ข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นกลุ่มของภาวะที่เกิดการทำลายข้อต่อของร่างกาย ข้ออักเสบมีได้มากกว่าร้อยรูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือ ข้อเสื่อม (osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ การติดเชื้อของข้อและอายุ ส่วนข้ออักเสบรูปแบบอื่นเช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อสะเก็ดเงิน จากภาวะภูมิต้านตนเอง ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคเกาต์ซึ่งเกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อและทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตซึ่งเรียกว่า โรคเกาต์เทียม

โรคข้ออักเสบทั้งหมดจะมาด้วยอาการปวด ซึ่งรูปแบบการปวดจะแตกต่างกันตามชนิดของข้ออักเสบและตำแหน่ง ข้ออักเสบรูมาตอยด์มักมีอาการปวดตอนเช้า ในระยะแรกผู้ป่วยมักบอกว่าอาการปวดหายไปหลังจากอาบน้ำตอนเช้า ในผู้สูงอายุหรือเด็กอาจไม่ได้มาด้วยอาการปวด เพราะผู้สูงอายุมักขยับร่างกายได้น้อย ส่วนในเด็กเล็กผู้ป่วยจะปฏิเสธที่จะใช้แขนขาข้างที่เป็น

ปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์

แพทย์ประจำคลินิกอายุรกรรมโรคข้อและรูมาติสซั่ม


อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามข้อ ข้อที่พบบ่อยคือข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า ข้อมือ ข้อศอก ข้อไหล่ มักจะปวดทั้ง 2 ข้าง แต่อาการปวดจะเป็นมากสลับน้อย มักไม่มีช่วงที่ไม่มีอาการ หลังได้รับการรักษาอาการดีขึ้นแต่ไม่หายขาด ต้องรับประทานยาควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง

อาการปวดข้อดำเนินไปอย่างช้าๆอาจนานเป็นสัปดาห์ถึงเป็นเดือน โดยตัวข้อจะมีอาการปวดบวมแดงร้อน ร่วมกับมีอาการข้อฝืดมักเป็นช่วงกลางดึกและหลังตื่นนอน จะมีอาการฝืดขัด ขยับลำบาก กำมือลำบากมากขึ้น เมื่อไม่ได้ขยับเป็นเวลานาน ปวดข้อมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่นของวัน

อาจจะมีอาการปวดเมื่อย/เมื่อยล้าทั่วร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถทำงาน/กิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ และอาการของอวัยวะอื่นอักเสบ เช่น ผิวหนัง ตา ปอด หัวใจ ไต ต่อมน้ำลาย เส้นประสาท ระบบเลือด และอื่นๆ

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วย ที่ควรบอกแพทย์ เพื่อช่วยบอกการวินิจฉัยโรคได้

  1. เวลาและความเร็วขณะเกิดอาการ
  2. รูปแบบของข้อที่เกี่ยวข้อง ความสมมาตร
  3. อาการปวดข้อตอนเช้า
  4. ความรู้สึกข้อตึงยึดหรือล็อกเมื่อไม่ได้ทำกิจกรรม
  5. ปัจจัยที่กระตุ้นหรือทุเลาอาการ เช่น ทำกิจกรรมอะไร แล้วเจ็บมาก ทำอะไรแล้วจะไม่เจ็บ
  6. อาการในระบบอื่นๆ
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ เพื่อลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

คลินิกอายุรกรรมเฉพาะทาง ของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เรามีบริการตรวจรักษาโรคกลุ่มนี้ โดยอายุรแพทย์เฉพาะทางโรคข้อและรูมาติสซั่ม ดังนี้

  • โรคข้ออักเสบรูมาติสซั่ม (Rheumatoid arthritis)
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง / โรคลูปัส (Systemic lupus erythematosus หรือ SLE)
  • โรคเกาต์ / โรคเกาต์เทียม (Gout / Pseudo gout)
  • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
  • โรคหนังแข็ง (Scleroderma)
  • โรคเนื้อเยื่ออ่อน และรูมาติกเฉพาะที่ (Soft tissue Rheumatism) เช่น ถุงน้ำบริเวณข้ออักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

วินิจฉัยจากการซักประวัติและตรวจร่างกายที่เข้าได้กับโรค การตรวจร่างกายจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยหรืออาจบ่งถึงโรคทางกายอื่นที่ทำให้เกิดอาการที่ข้อ การตรวจเลือดที่สำคัญ คือ

  • Rheumatoid Factor (RF) เป็นแลปที่อยุ่ในเกณฑ์การวินิจฉัย มีความไวสูงแต่เนื่องจากความจำเพาะต่ำ สามารถพบผลบวกได้ใน ผุ้สูงอายุ/โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอักเสบอื่นๆและโรคติดเชื้อ จึงต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการแปลผล
  • Anti-CCP มีความไวในการวินิจฉัยพอๆกับ RF แต่มีความจำเพาะสูงกว่า RF

ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบเรื้อรัง ถ้าตรวจไม่พบทั้ง RF และ Anti-CCP จะช่วยในการวินิจฉัย seronegative RA, seronegative spondyloarthropathy(SNSA)ได้

การตรวจเลือดและเอกซเรย์ที่ข้อที่เป็น เพื่อให้ได้การวินิจฉัยแน่นอน การตรวจเลือดจะทำเมื่อสงสัยข้ออักเสบบางอย่าง อาทิ รูมาตอยด์ แฟกเตอร์ แอนตินิวเคลียร์แฟกเตอร์ (ANF) และแอนติบอดีจำเพาะอื่น

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์เป็นโรคที่มีความผิดปกติของการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ก่อให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นยาที่ใช้จึงเป็นกลุ่มที่มีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกันให้ทำงานลดลง โดยมีจุดมุ่งหมายของการรักษาคือ

  • ลดความเจ็บปวด
  • ลดการอักเสบของข้อ
  • ทำให้ข้อมีสภาพใช้งานได้เหมือนปกติ

โดยยาที่ใช้หลักคือยาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (Disease Modifying Antirheumatic Drugs;DMARDs) รวมไปถึงยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ยากลุ่มสเตียรอยด์ และยากลุ่มสารชีวภาพ

ปกติแล้วการรักษาโรครูมาตอยด์จะทำการรักษาตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง แพทย์จะประเมิณผลของการรักษาและดูผลข้างเคียงของยาปรับยาทุก 1-3 เดือน แล้วแต่ความรุนแรงของโรค โดยจะเน้นให้ผุ้ป่วยมาตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากขาดนัดไปไม่ได้รับยาจะทำให้มีอาการปวดอักเสบของข้อมากขึ้น ข้อพิการผิดรูปมากขึ้นจนยากที่จะกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติเหมือนดังเดิม

การรักษาโรคกลุ่มดังกล่าวนี้ ต้องรักษาอย่างจริงจังและถูกต้องแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันความพิการได้ คลินิกอายุรกรรมโรคข้อและรูมาติสซั่ม โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เราพร้อมให้คำปรึกษา วินิจฉัย และให้การรักษาโดยอายุรแพทย์เฉพาะทางโรคข้อและรูมาติสซั่ม