Banner คลินิกกายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด

ที่ตั้ง

แผนกกายภาพบำบัด
อาคาร B ชั้น 2
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

เวลาทำการ

วันจันทร์ – อาทิตย์
เวลา 08:00 – 18:00 น.
 

เบอร์ติดต่อ

โทรศัพท์
02-115-2111 ต่อ 2219
หรือ 097-182-3272
วิชาชีพทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัยและการบำบัดรักษาความบกพร่องทางร่างกาย การป้องกัน แก้ไข และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพของร่างกายและจิตใจ ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดหรือการใช้เครื่องมือที่รัฐมนตรีประกาศ โดยคำแนะนำจากคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต มีทีมนักกายภาพบำบัดวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ ตรวจประเมิน รักษาฟื้นฟู และให้คำแนะนำในผู้ป่วยหลากหลายกลุ่มอาการได้อย่างตรงจุด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คลินิกกายภาพบำบัด

นักกายภาพบำบัด

  1. กภ. ปวีณวรรณ เหลี่ยมสุวรรณ
  2. กภ. นันทนา โกศล
  3. กภ. วีรยา เพียรมานะ
  4. กภ. ชนากานต์ ลาภพิพิธมงคล

การบริการของคลินิกกายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด ให้บริการด้านการป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ได้มาตรฐานและทันสมัย เช่น การประคบร้อน ประคบเย็น พาราฟิน เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า คลื่น Short wave เครื่องเลเซอร์กำลังสูง เครื่องดึงคอ ดึงหลัง การดัดดึงข้อต่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว การฝึกหัดเดิน การฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อ อุปกรณ์ออกกำลังกาย การฟื้นฟูทางเดินหายใจ การเคาะปอด สั่นปอด การฝึกการเคลื่อนไหวทางด้านระบบประสาท และการฝึกกิจวัตรประจำวัน

กายภาพบำบัด ไหล่และหลัง
กายภาพบำบัด หัวเข่า ข้อเข่า

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • รักษาด้วยมือ โดยวิธีการนวด ดัด ดึง ด้วยเทคนิคพิเศษ ซึ่งปรับตามส่วนของร่างกายที่รักษาและอาการของผู้ป่วย
  • รักษาด้วยความร้อน ความเย็น คลื่นไฟฟ้า คลื่นแสง และคลื่นแม่เหล็กชนิดต่างๆ โดยนักกายภาพบำบัดต้องทำการวิเคราะห์ว่ากรณีผู้ป่วยใดจะต้องรับการรักษาประเภทใด มากน้อยเท่าใด
  • รักษาด้วยการบริหารร่างกาย โดยนักกายภาพบำบัดต้องทำการวิเคราะห์ว่าอาการที่ผู้ป่วยเป็นนั้นมีสาเหตุความบกพร่องของกระดูกกล้ามเนื้อ หรือ ระบบประสาทส่วนใดและออกแบบท่าการบริหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
  • เลือกชนิดและสอนการใช้เครื่องช่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
  • การวิเคราะห์ความเหมาะสมของท่าทางสถานที่และวิธีการทำงาน ให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาของร่างกายจากความไม่เหมาะสมของภาวะงาน ทั้งในสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรมและสถานที่ทำงานอื่นๆ
  • ดูแลผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่บาดเจ็บหลังจากการเล่นกีฬาเพื่อให้สามารถกลับไปฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างเร็วที่สุด รวมทั้งการให้ทำแนะนำและฝึกสอนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้อีก
  • การตรวจและกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก

เครื่องมือทางกายภาพบำบัด

  • การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ เพื่อลดอาการปวดหลัง คลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การใช้เครื่องมือ Short Wave Diathermy เพื่อลดอาการบริเวณปวดข้อต่อ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การใช้เครื่องดึงหลัง และคอ เพื่อลดการกดทับเส้นประสาทจากภาวะกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อน
  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เป็นเครื่องมือในการรักษาที่ช่วยลดความเจ็บปวด การบวม การฟื้นตัวได้และกระตุ้นระบบประสาทให้การส่งกระแสประสาททำงานได้ดีขึ้น
  • แผ่นประคบร้อน (Hydrocollator Pack) เพื่อบรรเทาอาการปวดของกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดความตึงตัวของข้อต่อ เนื้อเยื่อ พังผืด และกล้ามเนื้อที่อยู่ในชั้นตื้น
  • เครื่องลดปวดด้วยกระแสไฟฟ้า (Tens) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นผ่านเส้นประสาทสัมผัสทางผิวหนัง เพื่อลดความเจ็บปวด อาการชา หรือความรู้สึกที่ผิดไปจากเดิม
  • การรักษาด้วยอาการแช่ขี้ผึ้ง (Paraffin) เพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดความตึงตัวของข้อ เนื้อเยื่อพังผืด และกล้ามเนื้อในบริเวณข้อต่อที่มีขนาดเล็ก เช่นนิ้วมือและนิ้วเท้า
  • เตียงปรับให้ตั้งตรงเพื่อฝึกการยืน (Tilt table and tilt board) เพื่อปรับความดัน และฝึกการถ่ายน้ำหนักในผู้ป่วยนอนนานหรืออ่อนแรงขา

การฝังเข็มร่วมกับกายภาพบำบัด

การฝังเข็มร่วมกับกายภาพบำบัด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดและรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อได้อย่างรวดเร็ว การฝังเข็มช่วยลดการอักเสบและคลายความตึงของกล้ามเนื้อและจุดกระตุ้น เมื่อกล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้นและคลายจุดกระตุ้น ผู้ป่วยจะสามารถใช้เทคนิคการบำบัดด้วยตนเองหรือการออกกำลังกายตามการออกกำลังกายได้ดีขึ้น การฝังเข็มช่วยให้ร่างกายของคุณสามารถทำงานได้ดีขึ้น ปรับปรุงความแข็งแรงและช่วงของการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม

อ่านต่อ ประโยชน์ของการผสมผสานการฝังเข็มและกายภาพบำบัด ได้ที่นี่