ปวดเข่า มีอาการอย่างไร ปวดเข่า หรืออาการปวดข้อเข่า คืออาการที่มีการเจ็บปวด เสียว ขัด รุ้สึกข้อเข่าไม่มั่นคง ไม่มีแรง อาจเป็นได้ทั้งบริเวณด้านหน้าและด้านหลังข้อเข่า หรือทั้ง 2 ด้าน บางครั้งอาจพบอาการปวดร้าวไปที่ต้นขาได้ อาการปวดแบ่งได้หลายรูปแบบ ที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • อาการปวดระหว่างมีการขยับใช้งาน อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขยับหรือการลงน้ำหนักบางท่า ไม่เป็นตลอดเวลา ถ้าไม่มีการขยับ นั่ง หรือนอนพัก จะไม่มีอาการ อาการปวดแบบนี้บ่งบอกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับโครงสร้างบางตำแหน่งของข้อเข่าที่มีการใช้งาน
  • ปวดเฉพาะตอนขยับเริ่มแรก อาการปวดเฉพาะตอนเริ่มขยับ พอใช้งานสักพักอาการปวดจะหายใป เช่น เป็นหลังตื่นนอนแล้วเริ่มเดินหลังจากนั้นอาการปวดจะทุเลาลง การปวดลักษณะแบบนี้บ่งบอกว่าเป็นการอักเสบ ที่ยังไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากเวลาที่เราไม่ได้ขยับข้อเป็นเวลานาน จะมีการอักเสษสะสมอยู่ในตำแหน่งนั้นๆ ทันทีที่ขยับจะมีการกระตุ้นให้อักเสบมากขึ้น พอใช้งานไปสักพัก เลือด เข้าไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวอาการอักเสบจะกระจายออกไปทำให้อาการปวดลงลง
  • ปวดตลอดเวลา ปวดตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนพัก หรือนั่งเฉยๆ อาการปวดแบบนี้ บอกถึงการอักเสบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งมักพบร่วมกับอาการ บวมแดงร้อน ของข้อเข่า สังเกตุได้จาก การนำมือมาวางทาบกับบริเวณเข่า

สาเหตุของอาการปวดเข่า

  1. เกิดจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา เกิดการบาดเจ้บแบบเฉียบพลัน การบาดเจ็บนี้จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างข้อเข่า ทำให้เกิดอาการปวดเข่าจาก กระดุกอ่อน ผิวข้อบาดเจ้บ เอ็นไขว้หน้า ไขว้หลังฉีกขาด รวมไปถึงหมอนรองกระดูกฉีกขาด มักพบบ่อยกรณีที่เกิดอุบัติเหตุโดยตรงกับเข่า หรือ การบาดเจ้บจากการเล่นกีฬาแบบเฉียบพลัน
  2. อาการปวดที่เกิดจากความเสื่อม หรือการใช้งานข้อเข่าอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลายาวนาน มักพบในผู้สูงอายุ ราว 45 ปีขึ้นไป ทั้งนี้จะขึ้นอยุ่กับภาวะน้ำหนักเกิน และการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลด้วย

อาการปวดที่ต้องพบแพทย์

  • อาการปวดที่เกิดขึ้นแม้กระทั่งนั่งพักหรือไม่มีการเคลื่อนไหว หากมีอาการปวดในขณะที่หยุดพัก แสดงว่ามีอาการอักเสบที่สะสมอยู่บริเวณข้อเข่าค่อนข้างมากนับเป็นอาการของโรคที่รุนแรง
  • มีอาการปวดมากในขณะที่เคลื่อนไหวเหยียดงอ หรือลงน้ำหนัก อาการปวดแบบนี้จะทำให้เคลื่อนไหวลลำบาก หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลย ปวดจนยืนลงน้ำหนักไม่ได้ นับเป็นอาการปวดที่ผิด ปกติ
  • มีอาการปวดเข่าร่วมกับอาการผิดปกติอื่น เช่น รอยจ้ำเลือดบริเวณรอบเข่า อาการงอหรือเหยียดเข่าได้ไม่สุด อาการไข้ ตัวร้อน หรือ บวมแดงร้อนบริเวณข้อเข่า

อาการปวดหัวเข่า สามารถแยกออกมาได้หลายสาเหตุหลายโรค และยังมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เพื่อรักษาข้อเข่าให้อยู่กับเราตลอดไป วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย เพื่อป้องกันการลุกลาม และบาดเจ็บติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น