โรค ฟันผุ สามารถพบได้ปกติในช่องปาก เป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลกลายเป็นกรด ปล่อยทิ้งไว้ไม่ดูแลรักษาช่องปากอาจส่งผลให้เกิดฟันผุ แตกหัก หรือเป็นรูได้ และสามารถลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ภายในช่องปากทำให้การดูแลรักษาต้องใช้เวลานานขึ้น
อาการฟันผุ
อาการฟันผุมักเริ่มเกิดขึ้นที่ชั้นผิวเคลือบฟันก่อนเป็นจุดดำเล็ก ๆ หรือเป็นเส้นดำเล็ก ๆ บริเวณร่องฟันด้านบดเคี้ยวทำให้เนื้อฟันมีสีขาวขุ่นผิดปกติ ในระยะเริ่มแรกจะไม่พบอาการเสียวฟันหรือปวดฟันแต่อย่างใดแต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้และไม่ดูแลช่องปากจนฟันผุลุกลามไปถึงเนื้อฟันจะมีอาการเสียวฟันเมื่อเคี้ยวอาหารหรือเมื่อกระทบของเย็นบางครั้งอาจมีปวดร่วมด้วย
โรคหัวใจที่เกิดจาก ฟันผุ
ภัยเงียบจากฟันผุจากโรคฟันผุหากปล่อยให้ลุกลามจะมีอาการปวดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เชื้อโรคจะแพร่กระจายไปตามกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเช่น หัวใจ จะทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบและลิ้นหัวใจอักเสบ จากที่มีการตรวจพบเชื้อโรคที่ทำให้ฟันผุเกิดจากเชื้อ “สแต๊รปโตคอลคัส” ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวที่ตรวจพบในโรคเยื่อบุหัวใจและลิ้นหัวใจอักเสบ ดังนั้นการตื่นตัวในการป้องกันรักษาสุขภาพฟัน เพื่อไม่ให้ผันผุไปทำให้โรคหัวใจทวีความรุนแรงหรือไปทำลายหัวใจ ถ้ามีเลือดออกในช่องปากจากฟันผุเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจะสามารถเข้าไปในกระแสเลือด การติดเชื้อที่หัวใจต้องได้รับการดูแลพิเศษระมัดระวังเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไป และจำเป็นต้องได้รับ ยาปฎิชีวนะขนาดสูงเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อตัวโรค
การดูแลช่องปาก
- แปรงวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับใช้ไหมขัดฟันและควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยง การรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลหรือขนมหวานโดยเฉพาะชนิดเหนียวและติดฟันจะทำให้เกิดฟันผุง่าย
- ควรไปตรวจสุขภาพฟัน อย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง
การรักษาโรคฟันผุ
การรักษาจะรักษาตามสภาพฟันและความรุนแรงของฟันที่ถูกทำลาย เริ่มจากการซ่อมแซมฟันที่ถูกทำลายด้วยวัสดุชนิดต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ทอง เซลามิก อมัลกัม เรซิน เป็นต้น เมื่อมีการลุกลามมากขึ้น มีการสูญเสียเนื้อฟันมาก อาจต้องทำการรักษาด้วยวิธีการครอบฟัน หรือการรักษารากฟันเมื่อผุทะลุโพรงประสาทฟัน