ภาวะออทิสติกเทียม เป็นภาวะที่เกิดจากเด็กขาดการกระตุ้นในการสื่อสาร 2 ทาง ทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสื่อสารกับผู้อื่น ส่งผลโดยตรงที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคมที่ล่าช้า
สาเหตุของภาวะออทิสติกเทียม
- ผู้ปกครองให้เด็กเล่นอุปกรณ์สื่อสารก่อนอายุ 2 ขวบ
- เด็กดูโทรทัศน์มากกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
- ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเลี้ยงเด็ก
การป้องกันภาวะออทิสติกเทียม
- ไม่ควรปล่อยให้เด็กน้อยกว่า 2 ขวบเล่น สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตหรือไอแพด หากอายุมากว่า 2 ขวบแล้วสามารถเล่นได้บ้างแต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
- ผู้ปกครองควรหากิจกรรมทำร่วมกับเด็ก มีการพูดคุยกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน หากิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ
- ผู้ปกครองควรหมั่นเล่น พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็ก โต้ตอบ สื่อสาร
- ให้หาโอกาสพาเด็กไปเที่ยว เข้าสังคมกับเด็กวัยเดียวกันบ้าง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
- หมั่นสังเกตพฤติกรรมเด็กอยู่สม่ำเสมอ
อาการของภาวะออติสติกเทียม
- เด็กเวลาพูดคุยจะไม่สบตาผู้คุย ไม่ยิ้ม ไม่แสดงอารมณ์
- เด็กอายุ 2 ขวบ ยังไม่พูด/ พูดช้า / พูดภาษาต่างดาว / บอกความต้องการของตัวเองไม่ได้ มักแสดงออกด้วยการโวยวาย อาละวาดแทน
- เด็กจะติดสมาร์ทโฟน ติดแท็ปเล็ต ติดไอแพด ไม่สนใจกิจกรรมอื่น
- เด็กจะทำพฤติกรรมซ้ำๆ เล่นของเล่นในรูปแบบเดิมๆ ชอบแยกตัว ชอบเล่นคนเดียว
- เด็กมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเด็กวัยเดียวกัน เช่น ร้องไห้งอแงไม่มีเหตุผล มีพฤติกรรมรุนแรงเวลาไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
วิธีการตรวจสอบว่าเด็กเข้าข่ายออทิสติกเทียมหรือไม่
- ช่วงอายุ 6 เดือน ไม่ยิ้ม ไม่แสดงอารมณ์สนุกสนาน
- ช่วงอายุ 9 เดือน ไม่ส่งเสียง ไม่ยิ้ม ไม่แสดงสีหน้าโต้ตอบกลับผู้คุย
- ช่วงอายุ 12 เดือน ไม่เล่นน้ำลาย ไม่หันหาเสียงเรียกชื่อ
- ช่วงอายุ 18 เดือน ไม่มีการใช้ภาษาพูดร่วมกับภาษาท่าทาง
ทั้งนี้พัฒนาของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน หากเด็กมีลักษณะอาการเสี่ยงเหล่านี้หรือมีลักษณะอาการที่เข้าข่าย ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ที่ชำนาญด้านพัฒนาการเด็ก