ภาวะเครียดลงกระเพาะ  อาการยอดฮิตของคนวัยทำงาน

‘ ภาวะเครียดลงกระเพาะ ’ แค่ได้ยินก็จะอาเจียนแล้ว เพราะปัจจุบันความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะวัยทำงาน ที่ทำงานหนักจนเครียด และหากปล่อยไว้นาน ๆ ก็จะเครียดสะสมส่งผลให้ร่างกายในส่วนต่าง ๆ ได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น มีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หรือที่เรียกว่า ‘เครียดลงกระเพาะ’ นั่นแหละ

อาการของโรคเครียดลงกระเพาะ

เรอบ่อย อาหารไม่ค่อยย่อย มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เวลาขับถ่ายจะออกมาเป็นเลือด หรือมีสีดำปน รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวด จุก แสบบริเวณลิ้นปี่ ส่วนใหญ่มักเกิดจากหลังเวลารับประทานอาหารเสร็จ นอนไม่ค่อยหลับ หรือถ้าหลับก็หลับไม่ค่อยสนิทเท่าไหร่

เครียดลงกระเพาะส่งผลต่อระบบย่อยอาหารยังไง

  1. ระบบภูมิคุ้มประสิทธิภาพต่ำลง ทำให้เสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
  2. มีแบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  3. กล้ามเนื้อหลอดอาหารหดเกร็ง แถมยังมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย
  4. ส่งผลให้หลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยอาหารน้อยลง ทำให้มีภาวะอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้น หรือเกิดอาการท้องอืดได้

รับมือกับโรคเครียดลงกระเพาะ

  • เมื่อรู้สึกว่าเริ่มมีภาวะเครียดให้รีบทำกิจกรรมผ่อนคลายกับตัวเอง เช่น ฟังเพลง ออกไปเที่ยวข้างนอก วาดรูป เป็นต้น
  • รับประทานให้ตรงเวลา และครบทั้งหมด 3 มื้อ รวมถึงทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะอาหารบางชนิดส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร และอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดได้ ซึ่งทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารขยะอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • ออกกำลังสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด และทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้
  • ระบายความเครียดให้คนรอบข้างฟัง ไม่ว่าจะปรึกษาเพื่อน หรือครอบครัว เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้สบายใจขึ้นได้ จะได้ไม่สะสมความเครียดจนเกินไป
  • ป้องกันความเครียดโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ปรับตารางในการทำงานให้สมดุลกับเวลาพักผ่อน
  • ควรปรึกษาแพทย์หากมีอุจจาระปนเลือด อาเจียน น้ำหนักลดลง มีอาการที่รุนแรงผิดปกติ และไม่สามารถจัดการความเครียดได้