สาหตุและการติดต่อของไช้เลือดออก

ไข้เลือดอกมีสาเหตุจากเชื้อไรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ชอบอาศัยอยู่รอบ ๆ บ้านตามแหล่งชุมชน แพร่พันธุ์ในที่มีน้ำขัง เช่น ภาชนะกักเก็บน้ำภายในบ้าน หรือน้ำฝนที่ตกค้างอยู่ในภาชนะต่าง ๆ รอบ ๆ บ้านเมื่อยุงลายตัวเมียกัดดูดเลือตจากผู้ป่วยไข้เลือดออกเชื้อไวรัสจะฟักตัวในยุงประมาณ 8-10 วัน และจะมีเชื้อในยุงตลอดอายุ 1-2 เตือน ไช้เลือดออกไม่สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้โดยตรงต้องอาศัยยุงลายเป็นพาหะนำโรค การที่เราพบเด็กหลายคนในชุมชนเดียวกัน ป่วยด้วยไข้เลือดออกพร้อม ๆ กัน เพราะเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน จึงถูกยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคกัดในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

อาการของไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสจะมีระยะพักตัวประมาณ 5-8 วัน จึงจะเริ่มมีอาการตามระยะต่าง ๆ ดังนี้
1. ระยะไข้สูง

  • ไข้อาจสูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส (3-7 วัน)
  • เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดหัว หรือปวดท้อง
  • ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 เด็กมักซึม
  • หน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
  • มีโอกาส 60-90% ที่ตรวจพบตับโต
  • Touniquet test: ให้ผลบวก
  • ผลตรวจ Debgue NS1 Antigen : ให้ผลบวก และผลตรวจเกล็ดเลือดต่ำ

2. ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก)

  • ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค)
  • อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค อาจจะมีอาการ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว และความดันโลหิตต่ำ
  • อาเจียนมาก
  • ปวดท้อง
  • บางรายซึมมากขึ้น
  • ปัสสาวะออกน้อย
  • อาจมีเลือดออกในกระเพาะ
  • ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อน และได้รับการรักษาทันและถูกต้อง ระยะนี้จะกินเวลา 24-48 ชม. แล้วเข้าสู่ระยะที่ 3

3. ระยะฟื้นตัว

  • อาการทั่วไปดีขึ้น
  • ความดันโลหิตดีขึ้น
  • ชีพจรปกติ
  • ปัสสาวะออกมากขึ้น
  • ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์
  • เริ่มรับประทานอาหารได้
  • มีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า ปลายมือ และมีอาการคัน

การรักษา

ผู้ป่วยที่อาเจียนให้ดื่มน้ำ/น้ำเกลือแร่บ่อยๆ วิธีสังเกดว่า ดื่มน้ำพอหรือไม่คือ ปัสสาวะควรมีสีใส และถ่ายปัสสาวะพุก 4-6 ชม. ควรพบแพทย์เป็นระยะๆ ตามนัด เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอัตรายอย่างใกล้ชิด ถ้าอาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการช็อค และมีอาการเลือดออกควรรักษาในโรงพยาบาล และดูแลใกล้ชิด เพื่อรักษาได้ทันท่วงที ให้ยาแก้ไข้พาราเซตามอลได้ ไม่ควรให้ยาแอสไพริน เพราะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร โอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะอาหารได้ง่าย

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

1. การป้องกันด้วยวัคซีน (Vaccine)

  • วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ครอบคลุมทั้ง 4 สายพันธุ์ และไมจำเป็นต้องตรวจภูมิก่อนฉีด สามารถใช้ได้ทั้งคนที่เคย/ไม่เคยเป็นไข้เลือดออก
  • ฉีดแค่ 2 เข็ม แบบ subcutaneous ห่างกัน 3 เดือน
  • ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 4-60 ปี
  • ป้องกันการติดเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้ 80%
  • ป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออกได้มากถึง 90%
  • วัคซีนมีความปลอดภัยสูง side effect เหมือนฉีดวัคซีนทั่วๆไป อาจมีไข้ต่ำๆ หรือปวดบริเวณที่ฉีด
  • มีการศึกษาในคนไทย คิดเป็น 15% ของทั้ง study
  • อยู่ใน Guideline ที่แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย และ IDAT guideline

2. พยายามไม่ให้ยุงกัด ช่วงเวลาที่ยุงลายชอบกัด คือ ตอนกลางวัน
3. ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่ง ตามภาชนะต่าง ๆ ที่มีน้ำยัง
4. ผู้ป่วยที่เป็นใข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัด ภายใน 5 วันแรกเพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือด ทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้
5. รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือสาธารณะสจังหวัด เพื่อสิ่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้น ก่อนที่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น