มะเร็งโพรงมดลูก หรือ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นได้ในอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง ซึ่งพบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 3 ในผู้หญิงไทย ผู้ป่วยมักมีอายุเฉลี่ย 60-70 ปี ซึ่ง 95% ที่ตรวจพบจะมีอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกถ้ามีการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก จะมีโอกาสในการรักษาให้หายได้ค่อนข้างสูง

อาการที่พบของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

  1. มักมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  2. มีประจำเดือนในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไป
  3. ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย ไม่สม่ำเสมอ
  4. หลังวัยหมดประจำเดือนจะมีเลือดออก

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมักเกิดในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน แต่ผู้ที่พบอาการผิดปกติแต่ยังไม่ถึงวัยหมดประจำเดือน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ การปล่อยไว้อาจส่งผลให้มีการลุกลาม หรือแพร่กระจายในอวัยวะต่าง ๆ ได้

สาเหตุ

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจเกิดจากการไม่สมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปร เจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อเกิดภาวะฮอร์โมนผิดปกติอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้

  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
  • น้ำหนักที่มากเกินไป เนื่องจากไขมันในร่างกายเป็นแหล่งสะสมของฮอร์โมนเอสโตรเจน
  • หลังหมดประจำเดือนมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ
  • มีภาวะประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือ ไข่ไม่ตกเรื้อรัง
  • การรับประทานยารักษามะเร็งเต้นนม ซึ่งส่งผลกระตุ้นการเจริญของเยื่อบุดพรงมดลูก
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
  • มีญาติสายตรงหรือมีประวัติพันธุกรรมเป้นมะเร็งบางชนิด

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มี 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะ 1 มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นภายในมดลูก
  • ระยะ 2 มีเซลล์มะเร็งลุกลามจากเยื่อบุโพรงมดลูกไปที่ปากมดลูก
  • ระยะ 3 มีเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปนอกมดลูกในอวัยวะใกล้เคียง ในต่อมน้ำเหลืองหรืออุ้งเชิงกราน
  • ระยะ 4 เซลล์มะเร็งกระจายไปบริเวณท้องหรืออวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ลำไส้ ตับ หรือกระเพาะปัสสาวะ

การวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

  1. อัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด
    เพื่อตรวจหาความผิดปกติในโพรงมดลูกและความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยวิธีการตรวจจะใช้เครื่องมือในการตรวจขนาดเล็กเพื่อสอดเข้าไปด้านในช่องคลอดและเก็บภาพภายในไว้ เป็นวิธีที่จะเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด
  2. การตรวจเลือด
    เป็นวิธีการตรวจสารเคมีในเลือด สารบ่งชี้มะเร็ง และเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  3. การตรวจชิ้นเนื้อ
    วิธีการตรวจชิ้นเนื้อจะตรวจหลังจากพบความผิดปกติจากวีการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องคลอดและมีการตรวจพบเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาขึ้น หรือพบลักษณะที่ผิดปกติ จึงมีความจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันผลวินิจฉัย

วิธีการนำชิ้นเนื้อไปตรวจ

  1. วิธีการดูดชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยไม่วางยาสลบ ซึ่งจะสามารถทำได้ในกรณีที่มีขนาดปากมดลูกไม่เล็กจนเกินไป และสามารถใส่เครื่องมือเพื่อไปดูดชิ้นเนื้อไปตรวจได้
  2. วิธีการขูดมดลูกไปตรวจ ซึ่งจะต้องวางยาสลบในห้องผ่าตัด โดยทั้งสองวิธีสามารถทำการส่องกล้องเพื่อดูโพรงมดลูก ร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น

การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

  • การผ่าตัดมดลูกรวมถึงรังไข่ ปีกมดลูก และต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง สามารถทำการผ่าตัดได้ทั้งการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องและการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
  • การรักษาโดยวิธีการการให้ยาเคมีบำบัด
  • รักษาด้วยวิธีการฉายแสง
  • รักษาโดยการใช้ฮอร์โมน การรับประทานยาเม็ดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกป้องกันได้ ดังนี้

  • เมื่อเข้าสู่วัยทองควรพบแพทย์เพื่อปรึกษา
  • รับประทานยาคุมกำเนิดตามคำแนะนำของแพทย์ การรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปี อาจช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักและรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม

ศูนย์มะเร็งตรงเป้า

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 093-328-5561 หรือ 02-115-2111 ต่อ 1169,1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : @ch9cancer
เว็บไซต์ : ศูนย์มะเร็งตรงเป้า