รวมอาการของ
ข้อเสื่อม ที่ควรรู้
รวมอาการของข้อเสื่อมที่ควรรู้
โรคข้อเสื่อมหรือภาวะการเสื่อมสภาพของข้อ เกิดขึ้นได้จากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน เกิดจากมีแรงมากระทำที่ข้อซ้ำแล้วซ้ำอีก มักพบได้ในผู้มีอายุมาก หรือผู้ที่น้ำหนักเยอะ รวมถึงผู้ที่มีกระดูกและข้อผิดปกติ ทำให้แรงที่ใช้ข้อเกิดการกระจายตัว มีการลงน้ำหนักหรือแรงไปที่จุดใดจุดหนึ่งมากกว่า อาจทำให้กระดูกบริเวณนั้นรับน้ำหนักจนเกิดไป ทำให้กระดูกอ่อนสึกหรอได้
กระดูกอ่อนที่สึกหรือบางลงจะทำให้กระดูกเกิดการเสียดสี และมีอาการปวดขึ้นมาเวลาเคลื่อนไหวข้อ การเจ็บปวดยังกระตุ้นให้เยื่อหุ้มข้อหลั่งสารที่ก่อการอักเสบ อาจทำให้มีอาการบวมและมีน้ำออกมา แต่เป็นน้ำที่มีอาการอักเสบร่วมด้วย เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเจ็บปวด และมีอาการบวมตามข้อ
กระดูกอ่อนที่สึกหรือบางลงจะทำให้กระดูกเกิดการเสียดสี และมีอาการปวดขึ้นมาเวลาเคลื่อนไหวข้อ การเจ็บปวดยังกระตุ้นให้เยื่อหุ้มข้อหลั่งสารที่ก่อการอักเสบ อาจทำให้มีอาการบวมและมีน้ำออกมา แต่เป็นน้ำที่มีอาการอักเสบร่วมด้วย เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเจ็บปวด และมีอาการบวมตามข้อ
ความเสี่ยงของการเกิดข้อเสื่อม
- อายุ มักพบใน ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะเริ่มพบปัญหาการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ
- การใช้งานของข้อ การออกกำลังกายที่มีการกระแทกที่ข้อซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- โครงสร้างร่างกาย ความผิดปกติของข้อสะโพกหรือข้อเข่าแต่กำเนิด
- น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวเป็นอีก 1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดกระดูกเสื่อม เมื่อรับน้ำหนักที่เกินเกณฑ์เป็นระยะเวลานาน
- อุบัติเหตุ ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อ เช่น ข้อหลุดเคลื่อน กระดูกหักเข้าข้อ
อาการของโรคข้อเสื่อม
- อาการปวด มีอาการปวดขัดเวลาเคลื่อนไหวข้อ เวลาเดินจะมีอาการปวด ทำให้ไม่สามารถเดินไกล ๆ ได้ เมื่อได้รับการพักผ่อนจะมีอาการดีขึ้น ถ้าเป็นมากจะเกิดอาการปวดตอนกลางคืนด้วย หากมีอากาศเย็นหรือชื้นจะมีอาการปวดข้อเพิ่มขึ้น ถ้ามีอาการอักเสบของน้ำในข้อร่วมด้วย จะมีอาการปวดตึงๆในข้อ และปวดข้อมากขึ้น
- อาการข้อฝืด จะมีอาการฝืดตึงข้อ เวลานั่งเป็นเวลานาน ๆ มักพบอาการเจ็บและฝืดขึ้นได้
- เสียงในข้อ เมื่อมีการเสียดสีกันของกระดูกที่ข้อต่อ จึงทำให้มีเสียงดังกรอบแกรบ สาเหตุเกิดจากพื้นที่ผิวหน้าข้อกระดูกอ่อนขรุขระ ทำให้เกิดเสียงดัง
- ข้อแข็ง อาการข้อแข็งทำให้เคลื่อนไหวลำบาก เวลาเดินทำให้เหมือนคนมีอาการขางอ ขาไม่ตรง ขอจะเหยียดและงอได้ไม่สุด ความรู้สึกเหมือนขาไม่มีแรง กล้ามเนื้อรอบๆข้อที่เสื่อมจะอ่อนแอและลีบลง
PRP คืออะไร
PRP หรือ Platelet-Rich Plasma คือการฉีดเกล็ดเลือดของผู้ที่เข้ารับการรักษา ฉีดกลับไปยังบริเวณที่มีการบาดเจ็บ อักเสบ หรือ เสื่อมสภาพ เป็นวิธีการรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมส่วนที่เสียหายโดยใช้หลักการฟื้นฟูตามธรรมชาติของร่างกาย PRP คือการปั่นเกร็ดเลือดโดยผ่านกระบวนการทำให้มีความเข้มข้นสูงกว่าเกล็ดเลือดในกระแสเลือดทั่วไปเพื่อให้ได้เกล็ดเลือดเข้มข้นที่เหมาะสมในการรักษาโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด
เกล็ดเลือดเป็นแหล่งเก็บ Growth factor ที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมร่างกาย และยับยั้งการเกิดความเสื่อมถอยของเนื้อเยื่อเอ็นได้ นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมหลอดเลือด เพิ่มการสร้างเซลล์ รวมถึงคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเอ็น และกล้ามเนื้อ
Growth factor ในเกร็ดเลือด มีหลายชนิด ดังนี้
- PDGF และ TFG-Beta ช่วยเพิ่ม Fibroblast เพิ่มกระบวนการสร้างคอลลาเจน
- IGF เป็นตัวกลางในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมกระดูกและกล้ามเนื้อ
- EGF ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่ ทดแทนเซลล์ที่สึกเหรอ
- VEGF ช่วยให้ซ่อมแซมหลอดเลือด และให้ระบบไหลเวียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วย PRP
- โรคข้อเข่าเสื่อม
- ไขข้ออักเสบ เอ็นข้อเข่าอักเสบ
- เอ็นข้อไหล่ฉีก เอ็นร้อยหวายอักเสบ
- เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เอ็นอักเสบที่ข้อศอก
- การบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ