โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ปกป้องและเป็นตัวรับแรงกระแทกในข้อเข่า มีการสึกหรอหรือเสื่อมสภาพลงหลังการใช้งานมานาน ส่งผลให้มีการเสียดสีของกระดูกในข้อเข่าและข้อลูกสะบ้า เกิดการฉีกขาดของหมอนรองเข่าและทำให้เกิดการอักเสบและปวดตามมา เป็นโรคที่พบในผู้ที่สูงอายุ แต่ก็สามารถพบในผู้ที่มีอายุน้อยซึ่งจะพบในผู้ที่มีโรคข้อเรื้อรัง เช่น ข้อเข่าผิดรูปโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า โดยมากผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากความแข็งแรงของกระดูก และกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมและข้อเข่าอักเสบ

  • ปวดเข่าเมื่อเคลื่อนไหว ลุกนั่ง หรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
  • มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
  • อาการข้อบวม เนื่องจากการอักเสบ
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
  • ข้อเข่ายึดติด ไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ
6303-knee-hurt-3

ปัจจัยที่นำไปสู่อาการข้อเข่าอักเสบและข้อเข่าเสื่อม

  • พฤติกรรมการใช้งานข้อเข่าที่ไม่ถูกต้อง ใช้งานข้อเข่าอย่างหนักและต่อเนื่อง เช่น นั่งงอเข่า นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆ
  • น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เข่ารับน้ำหนักมากขึ้นและแรงกดที่ข้อเข่าสูง
  • โครงสร้างพยุงข้อเข่าเสียสภาพ เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น จากอุบัติเหตุที่ข้อเข่า กระดูกข้อเข่าแตก หรือ เอ็นฉีก
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของผิวข้อกระดูกอ่อนลง ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมและข้อเข่าอักเสบง่ายขึ้น
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคประจำตัว เช่น SLE รูมาตอยด์ หรือโรคเลือดบางชนิด

วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมอาการข้อเข่าอักเสบ

  • เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น การลดน้ำหนัก ใช้เครื่องพยุงเข่า หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ไม่นั่งพับเพียบและนั่งท่าขัดสมาธิหรือนั่งงอเข่าเป็นเวลานานๆ
  • การใช้ยา เช่น ยาลดปวดเพื่อลดอาการข้อเข่าอักเสบและข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้ที่มีระยะเริ่มต้น
  • การฉีดยาเข้าข้อเข่า เช่น สารน้ำหล่อเลี้ยง ยาสเตียรอยด์ อย่างไรก็ตามการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ส่งผลเสียต่อกระดูกอ่อนของผิวข้อโดยตรง และเป็นการรักษาแค่ชั่วคราวและสำหรับผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมในระยะที่ไม่รุนแรง
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อการรักษาโดยวิธีการทานยาและกายภาพ รวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
6303-knee-hurt-2

อาการแบบไหนต้องรีบมาพบแพทย์..!!

  • ปวดเข่าบ่อยๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  • เข่าอักเสบ บวมร้อนบ่อย เรื้อรัง
  • เข่าผิดรูปจากเดิม โค้งออก เกเข้าด้านใน
  • เข่าติดยึด งอเหยียดไม่สุด