อาการอ่อนเพลีย หรือ Fatigue อาการแสดงถึงความรู้สึกเหนื่อยล้าไม่สดชื่น ไม่มีแรง ทำให้ ร่างกายอ่อนเพลีย และรู้สึกขาดแรงจูงใจในการทำงาน
สาเหตุ
- โรคประจำตัว เช่น เลือดจาง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไทรอยด์ โรคตับ โรคไต โรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- ตั้งครรภ์
- ขาดการออกกำลังกาย
- ความเครียด ซึมเศร้า
- ขาดสารอาหาร
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ทำงานหนัก
- โรคอ้วน
- ใช้ยารักษาโรคบางอย่าง เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ยารักษาอาการซึมเศร้า และยากล่อมประสาท
- ผู้สูงอายุ
- อื่นๆ
จะเห็นได้ว่าภาวะอ่อนเพลีย มีสาเหตุ หลากหลาย ซึ่งต้องมีการตรวจวิเคราะห์ถึงความผิดปกติทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ไปพร้อมๆกัน เพื่อจัดการให้เหมาะสมและถูกต้องกับปัญหาของแต่ละบุคคล
การตรวจสุขภาพประจำปี จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ที่จะช่วยวิเคราะห์ค่าความปกติ ทางด้านร่างกาย เพื่อแยกสาเหตุของความอ่อนเพลีย จากโรคทางกายได้เป็นอย่างดี โดยที่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับรับคำแนะนำในการเลือกรายการตรวจสุขภาพ ให้เหมาะสมกับ ช่วงอายุ และ ปัญหาต่างๆ
นอกจากปัญหาภาวะสุขภาพทางกายที่เป็นสาเหตุในอาการอ่อนเพลียแล้ว หากตรวจไม่พบความผิดปกติ เมื่อไหร่ ที่ควรปรึกษานักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์
- ด้านอารมณ์
- มีความกังวลทุกข์ใจ และรู้สึกซึมเศร้า ตลอดเวลา
- หวาดระแวง ในทุกๆ เรื่อง มีอารมณ์หงุดหงิด มากผิดปกติ
- เครียด อยู่ตลอดเวลา
- มีความรู้สึก กระวนกระวายใจ และอยู่ไม่นิ่ง
- มีเนื้อหาความคิด ผิดไปจากปกติ
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ และหลงลืมมากกว่าผิดปกติ
- การตัดสินใจหรือ การแก้ไขปัญหาไม่ได้ ในทุกๆ เรื่องแม้แต่ เป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม
- ได้ยินเสียงแว่ว หรือ เห็นภาพที่ผู้อื่นไม่เห็น
- มีความคิดทำร้ายตนเอง และความคิดว่ามีคนมาปองร้าย
- คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน คิดวนแต่เรื่องในอดีต
- มีสัญญาณเตือนทั้งร่างกายและพฤติกรรม
- ปล่อยตัว แยกตัว ไม่พบปะผู้คนเหมือนเคย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
- นอนไม่หลับ หรือ อาจนอนมากเกินปกติ
- เบื่ออาหาร หรือ รับประทานอาหารมากเกินปกติ
- ใช้จ่าย ฟุ่มเฟื่อย ใช้จ่ายโดยไม่ยั้งคิด
- ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่มาก หรือใช้ยาเสพติด
การป้องกันอาการอ่อนเพลีย
อาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นทั่วไป ซึ่งไม่มีความรุนแรง ป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ที่เหมาะสม ไม่หนักจนเกินไป 30-60 นาที / วัน อย่างน้อย 2-3 ครั้ง / สัปดาห์
- รับประทานอาหารอาหารครบ 5 หมู่ สุข สะอาด ปรุงใหม่
- ดื่มน้ำอย่างพอเหมาะ ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ 1-2 ลิตร / วัน ตามความเหมาะสมของแต่ละคน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชม./วัน
- หากเกิดปัญหาทางอารมณ์ ควรเผชิญหน้าและแก้ไข้ปัญหา ไม่ควรเพิกเฉยและหนีปัญหา อาจปรึกษาคนใกล้ชิดเพื่อขอความช่วยเหลือในการแก้ปัญหา
- ทำกิจกรรมสันทนาการ หาทางจัดการกับความเครียด
- ทำงานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำงานหนักจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และยาเสพติดทุกชนิด
ในบางครั้ง หลังจากการปฏิบัติตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นแล้ว แต่อาการอ่อนเพลีย ยังไม่ทุเลา และพบว่าปัญหายังคงอยู่ จึงมีความจำเป็นในการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุ ของอาการดังกล่าวเพื่อจัดการได้อย่างเหมาะสม