การเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากการรับวัคซีนโควิด19 หรือ vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VITT) เป็นผลข้างเคียงทีพบได้น้อย ซึ่งมีรายงานในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด19 ของ บ.Astra Zeneca และ Johnson&Johnson ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์เหมือนกัน ส่วนวัคซีน Spunik V จากรัสเซีย ซึ่งใช้การผลิตแบบเดียวกัน ยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงนี้

เนื่องจากการเกิดผลข้างเคียงนี้ จากข้อมูลจริงจากการฉีดของ Astra Zeneca คือ 50 รายจากปริมาณฉีด 5 ล้านคน คิดเป็น 10 รายต่อล้านคน

(ในขณะที่โอกาสเกิดลิ่มเลือดดำอุดตันทั่วไป (ก่อนมีวัคซีน ก่อนมีโควิด) ประมาณ 3,000 รายต่อล้านคน จะเห็นว่าลิ่มเลือดดำอุดตันจากวัคซีนมีโอกาสเกิดน้อยกว่าโอกาสที่พบโดยทั่วไปหลายเท่า)

ลองมาดูตัวเลขนี้ในฝั่งเอเชียกันบ้างครับ

ในวันที่ 17 พ.ค.2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงานผลข้างเคียงนี้ จากประเทศอินเดีย ซึ่งใช้วิคซีนโควิด19 ใช้วัคซีน COVISHIED จาก Astra Zeneca และ CAVAXIN จาก บ. Bharat Biotech ซึ่งเป็นวิธีการผลิตแบบเดียวกัน

พบว่ามีคนที่เกิดผลข้างเคียงนี้จำนวน 26 คน จากการฉีดวัคซีนไปประมาณ 160 ล้านโดส (ตัวเลขในวันที่ 16 พ.ค.2564) ซึ่งประมาณอัตราการเกิดผลข้างเคียงนี้คือ

1 ใน 6 ล้าน

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากการรับวัคซีนโควิด19 หรือ vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VITT) เกิดขึ้นหลังได้วัคซีน 5-28 วัน

อาการ คือ มีลิ่มเลือดอุดตัน เช่น

  • ลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำในสมอง (Cerebral sinus venous thrombosis) ซึ่งคนไข้จะมีอาการปวดหัวมาก (พบได้ 90%) อาการชัก (พบได้ 40%) และอาการอื่นๆ เช่นอาการอ่อนแรง แขนขาชา การรู้ตัวน้อยลงเป็นต้น
  • ลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดในช่องท้อง (Thrombosis of the splanchnic veins) มีอาการปวดท้อง มีน้ำในช่องท้อง
  • ลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดแดงปอด (Pulmonary embolism) จะมีอาการเหนื่อยหอบ การแลกเปลี่ยนอ็อกซิเจนในเลือดต่ำ
  • ลิ่มเลือดอุดตันที่อื่นๆ เช่นที่เส้นเลือดดำที่ขา ทำให้ขาบวมข้างเดียว หรือเส้นเลือดแดงอุดตันได้เช่นกัน

นอกจากนั้นยังพบมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้มีอาการนำด้วย จ้ำเลือดตามตัวได้

การวินิจฉัย

เมื่อมีอาการสงสัย ให้มาพบแพทย์ แพทย์ จะทำการตรวจเลือดเพื่อดู

  • ระดับเกล็ดเลือด (ต่ำกว่า 150,000 ตัว/มิลลิลิตร)
  • ปริมาณ D-dimer เพื่อประเมินว่ามีภาวะลิ่มเลือดอุดตันหรือไม่
  • การตรวจจำเพาะคือการตรวจ AntiPF4/heparin Ab
  • รวมทั้งการตรวจทางเอ็กซเรย์วินิจฉัย ตามอวัยวะที่สงสัยว่ามีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

การรักษา

  1. การให้ IVIG (Intravenous immunoglobulin) ขนาด 1 g/kg เป็นเวลา 2 วัน
  2. Steroid จะเป็นmethyprednisolone, dexamehtasone หรือ prednisolone ก็ได้ ในขนาดเทียบเท่ากับการให้ prednisolone 1 mg/kg/day
  3. ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ เช่น Rivaroxaban, Apixabanหรือ Fondarapinux
  4. การทำ plasma exchange มีประโยชน์ทำได้ใน 24 – 48 ชม. แรก