อาการนอนกรนอาจเกิดอันตรายได้ หากมีภาวะร่วมกับการหยุดหายใจในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA ) ส่งผลต่อระดับออกซิเจนในเลือดให้ลดต่ำลง ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ไม่พอเพียง เมื่อเด็กนอน หายใจเสียงดัง แล้วหายใจไม่ออก ก็จะนอนกระสับกระส่าย ตื่นบ่อย หลับไม่สนิท ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ, พักผ่อนได้ไม่เพียงพอ มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต พัฒนาการทางด้านร่างกายและ สติปัญญา
อัตราการเกิด OSA พบประมาณ 2% ของประชากร สัดส่วน ในเด็กผู้หญิงพอ ๆ กับเด็กผู้ชาย แต่จะพบว่าลักษณะแบบไม่เป็นอันตรายพบได้บ่อยกว่ามาก อย่างไรก็ตามแพทย์ มีความจำเป็นที่ต้อง ตรวจวินิจฉัยเด็กว่ามีลักษณะแบบมีอันตราย หรือหายใจ ผิดปกติ หรือไม่ เพื่อให้การรักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
อาการ
การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาภาวะของการเกิดโรคได้ โดยการทดสอบการนอนหลับ Sleep test การทดสอบคุณภาพการนอน ที่เป็นมาตรฐานเป็นการทดสอบในเวลากลางคืน ใน โรงพยาบาล โดยใช้เวลาประมาณ 6- 8 ชั่วโมง มีผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจคุณภาพการนอน เฝ้าสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด และผู้ปกครองสามารถมาอยู่เฝ้าได้
การรักษา
ขึ้นอยู่กับปัญหาของเด็ก ที่ตรวจพบ เช่น
1.การผ่าตัดต่อม Adenoid หรือ การผ่าตัด ต่อมTonsils
2.การใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับ (CPAP หรือ BiPAP)
3.การผ่าตัด เพื่อแก้ความผิดปกติของโครงสร้างของทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบกว่าปกติเป็น การทำ Craniofacial Surgery, Uvulopharyngopalatoplasty.
4.การรักษาอาการอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยร่วมก่อปัญหา เช่น โรคภูมิแพ้, การลดน้ำหนัก
ภาวะแทรกซ้อน
การอุดกั้นหรือตีบแคบของทางเดินหายใจ ทำให้มีออกซิเจนในเลือดลดลง จะทำให้ เด็กมีระดับ สติปัญญาต่ำ, ระดับการเรียนรู้ต่ำลง, มีสมาธิสั้น, มากไม่อยู่นิ่ง, ง่วงนอนและหลับในเวลากลางวัน, ปัสสาวะรดที่นอน, ความดันโลหิตสูง, ความดันเลือดในปอดสูง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจทำงานล้มเหลวได้
ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านระบบ หายใจ เพื่อตรวจหาสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดอาการและวินิจฉัยรักษา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย
คลินิกนอนกรน
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต 90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 096-932-5936 คุณปรียาลักษณ์ พยาบาลวิชาชีพ