ไข้ ตามวัฒนธรรม ความเชื่อของคนส่วนใหญ่ถูกมองว่าเป็นโรคอย่างหนึ่งซึ่งต้องให้การรักษา ทั้งๆ ที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์สอนเราว่า ไข้เป็นเพียงการตอยสนองของร่างกาย ต่อโรคยางอย่างเช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อโรค ไข้เป็นเพียงการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งมีชีวิตที่มากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยสมองส่วนที่เรียกว่า ฮัยโปทาลามัยส่วนหน้า จะทำหน้าที่ “สั่ง” ให้ร่างกายปรับตั้งอุณหภูมิใหม่ให้สูงขึ้น โดยการหนาวสั่น หลอดเลือดที่ผิวหนังโดยเฉพาะปลายมือ ปลายเท้าหดตัว จนซีดเขียว หยุดยั่งการทำงานของต่อมเหงื่อ (เปรียบคล้ายกับการโหมไฟในเตา พร้อมกับการปิดประตูหน้าต่าง ให้ห้องร้อนขึ้น) เพื่อให้ร้างกายร้อนขึ้นอน่างรวดเร็ว ดังนั้นไข้ซึ่งเกิดจาการสั่งของสมองในลักษณะนี้จึงไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย แต่ยังมีคนจำนวนมากที่ยังมีความเชื่อว่าไข้จะทำให้สมองเสื่อม หรือทำให้เสียชีวิตได้ โดยคิดว่า “ไข้” เหมือนกับ “ตัวร้อน” ซึ่งมีสาเหตุมาจากภายนอกเช่น จากการห่อผ้าหนา อยู๋ในที่ร้อน ตากแดด ความร้อนเหล้านี้ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นโดยไม่ได้อยู่ในการควบคุมของสมองฮัยโปทาลามัสส่วนหน้า ดังนั้น จึงเป็นอันตรายต่อร่างกายจนอาจถึงแก่ชีวิต
พ่อแม่บางคน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ยังมีความเข้าใจผิดว่าเด็กมีไข้เมื่อวักอุณหภูมิกายได้ 37 องศา ที่ถูกแล้วการจะถือว่าเป็นไข้ก็ต่อเมื่อวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 38 องศาขึ้นไป อุณหภูมิที่ถือว่าสูงมากจนอาจเกิดอันตรายได้คือ 41.1 องศาขึ้นไป ซึ่งมีโอกาสเกิดน้อย
การลดไข้ควรทำเมื่อแสดงอาการไม่สุขสบาย ไม่ใช่ทำตามอุณหภูมิที่วัดได้เพียงอย่างเดียว เพราะเด็กยางคนอาจดูไม่ป่วยเลยแม้ตัวจะร้อนถึง 40 องศา ในขณะที่เด็กอุณหภูมิแค่ 38 องศาอาจดูหงุดหงิดไม่สบายกว่า
ดังนั้นถ้าเด็กกำลังนอนหลับพักได้ ไม่ควรปลุกเด็กขึ้นมาเช็ดตัวตลอดเวลาจนเด็กไม่ได้ผักผ่อน หรือเด็กเป็นไข้วิ่งเล่นได้ไม่ซึมก็ไม่ต้องพยายามลดไข้จนเด็กตัวเย็นตลอดเวลา เด็กที่อาการดีขึ้นเมื่อไข้ลดลง น่าจะบอกได้ว่าอาการไม่สุขสบายนั้นเป็นเนื่องจากไข้ไม่ใช่เป็นจากความเจ็บป่วยอย่างอื่น
ถึงแม้ว่าไข้ส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายแต่อาการไข้สูงอาจมีผลเสียในเด็กที่มีอาการขาดน้ำ (เช่น ท้องเดิน อาเจียน ดื่มน้ำไม่ได้) เนื่องจากทำให้ขาดน้ำมากขึ้น จากการที่ดื่มน้ำได้น้อยลง หรือเสียน้ำไปทางลมหายใจ เด็กที่มีภาวะหอบร่วมกับไข้สูงทาจทำให้ความต้องการออซิเจนสูงขึ้นทำให้หอบมากขึ้น โรคหัวใจที่มีอัตราการเต้นหัวใจที่เร็วอยู่แล้ว ไข้อาจทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น โรคโลหิตจาง ติดเชื้อในกระแสโลหิต ช้อค ไข้อาจทำให้การปรับตัวของร่างกายเสียสมดุลได้ ดังนั้นการลดไข้ในเด็กที่มีภาวะดังกล่าวจึ้งเป็นสิ่งจำเป็น
ยาลดไข้ (ซึ่งออกฤทธิ์ตามชื่อ ไม่ใช่ยารักษาโรค) ทำให้ไข้ลดโดยการขัดขวางการสร้างสารพรอสต้าแกลนดินอีทูซึ่งออกฤทธิ์ที่สมองฮัยโปทาลามัสส่วนหน้า มีผลให้สองปรับลดค่าอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ร่างกายปรับตัวเพื่อให้อุณหภูมิลดลงตามสมองสั่ง จะเห็นได้ว่าไข้ไม่มีผลต่อตัวร้อนที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม
ยาลดไข้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือยาพาราเซตามอล ซึ่งมีความปลอดภัยถ้าให้ในขนาดที่เหมาะสม (ประมาณ 5-15 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.) สามารถใช้ได้ในเด็กตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ยาลดไข้อีกชนิด คือ ไอบู โปรเฟน หรือที่เรียกกันว่ายาลดไข้ แนะนำให้ใช้ได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป มีฤทธิ์ลดไข้ได้ดีกว่าและนานกว่ายาพาราเซตามอลเล็กน้อย แต่มีผลข้างเคียงมากกว่า เช่น กระเพาะอักเสบ ไตทำงานลดลง ด้านการทำงานของเกร็ดเลือด ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหรือไม่ใช้เลยในรายที่มีอาการขาดน้ำ(ทำให้ไตวายได้) หรือมีโอกาสเป็นไข้เลือดออก (ทำให้เลือดออกได้ง่าย/มากขึ้น) การให้ยาลดไข้ทั้ง 2 ชนิดพร้อมกันยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้อาการคนไข้ดีขึ้นมากกว่าการใช้ยาตัวเดียว ทั้งยังอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นด้วย และที่แน่นอนที่สุดคือยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่ายาลดไข้ไม่ว่าชนิดใดจะสามารถกันชักจากไข้ได้
การลดไข้อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กันคือ การเช็ดตัว ซึ่งมีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายตามความเชื่อของแต่ละคนโดยที่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการเช็ดตัวลดไข้ในเด็กทั่วไป (ซึ่งไม่ใช่เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้สูงดังกล่าวข้างต้น) จะได้ประโยชน์ในการรักษา กันชักจากไข้ได้ หรือทำให้เด็กสบายขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้ใช้ยาลดไข้รับประทานก่อน หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง (ยาลดไข้ออกฤทธิ์) ถ้าเด็กยังมีอาการไม่สบายตัวจึงทำการเช็ดตัวเนื่องจากการเช็ดตัวโดยที่สมองยังสั่งให้ไข้ขึ้นสูงอยู่นั้น จะทำให้เกิดอาการหนาวสั่น เพื่อต้านกับความพยายามที่จะทำให้ร่างกายเย็นลงเพียงชั่วคราว พอหยุดเช็ดร่างกายจะกลับร้อนขึ้นไปอีก
การเช็ดตัวที่ถูกต้องควรทำในสถานที่ที่ไม่เย็นมากจนเกินไป (ปิดเครื่องปรับอากาศ) ใช้น้ำที่อุณหภูมิพอเหมาะคือ น้ำอุ่น หรือ น้ำธรรมดา หลักการเช็ดเพื่อให้รูขุมขนที่ผิวขยายตัว (จากความร้อนของน้ำ) เพื่อให้ความร้อนข้่งในผ่านรูขุมขนออกสู่ร่างกาย ไม่ควรเช็ดตัวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไปจนเด็กรู้สึกหนาว ถ้าขณะเด็กมีการสั่น แสดงว่าสมองสั่งให้ร่างกายปรับให้ไข้ขึ้น ให้หยุดเช็ดไว้ก่อน เพราะการสั่นทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายมากขึ้นและไข้จะกลับสูงขึ้นกว่าเดิม
โดยสรุปแล้วจากความรู้ในปัจจุบันยังถือว่าอาการไข้เป็นการตอบสนองของร่างกาย ซึ่งมักจะไม่ทำอันตรายต่อตัวเด็กจากไข้เอง พ่อแม่ไม่ควรกังวลการพยายามลดไข้มากเกินไปจนเด็กไม่ได้พักผ่อน แต่ควรเน้นที่การดูแลให้เด็กได้รับความสะดวกสบาย ได้รับน้ำและอาหารให้เพียงพอ และการสังเกตอาการที่แสดงว่าเด็กกำลังป่วยด้วยโรคร้ายแรง เช่น ซึม ไม่ลุกเดิน ไม่กิน ไม่ดื่ม
ขอบคุณบทความจาก นายแพทย์สุนทร บุษราเทพกุล โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
(เรียบเรียกจาก Henryy M.Adam,MD Fever. Measuring and Managing ; Pediatric in Review Vol.34 No. August 2013)