คำแนะนำการให้ วัคซีนป้องกันโรคสำหรับ
ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
รายละเอียด คำแนะนำ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
- วัคซีนหลายชนิดสามารถให้พร้อมกันในวันเดียวได้ แต่ต้องฉีดในตำแหน่งที่ต่างกันและไม่นำวัคซีนหลายชนิดมาผสมกัน
- ผู้ป่วยเป็นไข้หวัดแต่ไม่มีไข้ สามารถฉีดวัคซีนได้ ส่วนผู้ที่มีไข้สูงควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนถ้าไม่มีความรีบด่วนที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนทันที
- วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine) ไม่ควรให้แก่ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง หรือผู้ที่กำลังได้รับยากดภูมิคุ้มกันอยู่ กรณีผู้ที่เพิ่งได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดไม่กิน 6 เดือน เกร็ดเลือดและพลาสม่าไม่เกิน 7 เดือน อิมมูโนโกลบุลินไม่เกิน 11 เดือน สามารถให้ได้แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอาจไม่ดี ส่วนผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาครบแล้ว และอยู่ในช่วงการติดตามการรักษาโดยไม่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันแล้วอย่างน้อย 3-6 เดือน สามารถฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ได้เหมือนคนปกติ
- การให้วัคซีนชนิดชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ สามารถให้พร้อมกันในวันเดียวได้ แต่ถ้าไม่สามารถให้พร้อมกันได้ควรเว้นช่วงการให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
- การให้วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated vaccines) แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถให้ได้แต่การสร้างภูมิคุ้มกันหรือประสิทธิผลของวัคซีนนั้นอาจได้ผลไม่ดี ซึ่งขึ้นกับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของแต่ละคน
วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป
รายละเอียดวัคซีน | กลุ่มอายุ (ปี) | ||
19-26 ปี | 27-64 ปี | ตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป | |
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Inactivated influenza vaccine) | 1 เข็มทุกปี | ||
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) | 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1 และ 6 (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด) | ||
วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ (Tetanus-diphtheria; Td vaccine) | กระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี (เช่น อายุ 20, 30, 40…ปี) | ||
วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ (Tetanus-diphtheria-pertussis; Tdap vaccine) | ให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง | ||
วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella vaccine) | 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด) | ||
วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (Measles, Mumps, Rubella; MMR vaccine) | 2เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์[อายุ<=40ปี] | ||
วัคซีนเอชพีวี (Human Papillomavirus; HPV vaccine) | 3 เข็ม[ผู้ชาย] | ||
3 เข็ม[ผู้หญิง] | |||
วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A vaccine) | 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน | 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน (ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด) | |
วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดโพลีแซคคาไรด์ (23-valent pneumococcal polysaccharide; PPV-23 vaccine) | 1 เข็ม | ||
วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต (13-valent pneumococcal conjugate; PCV-13 vaccine) | 1 เข็ม | ||
วัคซีนไข้เลือดออก (Dengue vaccine) | 3 เข็ม เดือนที่ 0, 6 และ 12 [อายุ <= 45 ปี] | ||
วัคซีนงูสวัด (Live-attenuated zoster vaccine) | 1 เข็ม [อายุ >= 60 ปี] |
วัคซีนแนะนำ วัคซีนที่อาจพิจรณา
วัคซีนป้องกันโรคสำหรับ ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว
วัคซีนแนะนำ | วัคซีนที่อาจพิจารณาฉีด |
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Inactivated influenza vaccine) | วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ (Tetanus-diphtheria-pertussis; Tdap vaccine) แนะนำให้วัคซีน Tdap แทน Td 1 ครั้ง |
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) | |
วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ (Tetanus-diphtheria; Td vaccine) กระตุ้น 1 เข็มด้วย Td ทุก 10 ปี | วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella vaccine) [พิจรณาฉีดสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV ที่มี CD4+ >= 200 cells/uL] |
วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A vaccine) [แนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง และผู้ป่วยหลังได้รับการปลูกถ่านตับหรือไขกระดูก] | วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (Measles, Mumps, Rubella; MMR vaccine) [พิจรณาฉีดสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV ที่มี CD4+ >= 200 cells/uL] |
วัคซีนเอชพีวี (Human Papillomavirus; HPV vaccine) [แนะนำสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV ที่มี CD4+ >= 200 cells/uL] | วัคซีนกาฬหลังแอ่น (Meningococal polysaccharide; MPSV4 or conjugate; MCV4 vaccine) [พิจรณาฉีดสำหรับผู้ที่ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานบกพร่อง (Anatomic or fuctional asplenia)] |
วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดโพลีแซคคาไรด์ หรือ วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต (23-valent pneumococcal polysaccharide; PPV-23 vaccine or 13-valent pneumococcal conjugate; PCV-13 vaccine) |
*ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด ไต ตับแข็ง ผู้ที่ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานบกพร่อง ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง ผู้ป่วยหลังได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิงฉบับสมบูรณ์]
อาการข้างเคียงและการดูแลหลังจากได้รับวัคซีน
- วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสูง แต่ยังคงพบอาการข้างเคียงได้บ้างซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและยอมรับได้ และจะหายไปในระยะเวลา 2-3 วัน
- อาการข้างเคียงของวัคซีนมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของวัคซีน ซึ่งวัคซีนเชื้อตายมักทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้เร็วหลังได้รับวัคซีน โดยเฉพาะเรื่องไข้ ส่วนวัคซีนเชื้อเป็นมักมีอาการข้างเคียงคล้ายกับอาการของโรคนั้น ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก และอาการมักเกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้วหลายวัน อาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- อาการเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวมแดง เจ็บ คันบริเวณที่ฉีด เป็นต้น
- อาการทั่วไป เช่น อาการไข้ อ่อนเพลีย ผื่น เป็นต้น
- การรักษาอาการข้างเคียงอาจทำได้โดยการประคบด้วยน้ำอุ่นบริเวณที่บวม ซึ่งจะช่วยให้ทุเลาลง หรืออาจให้ยาแก้ปวดลดไข้ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ในกรณีที่อาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน