สายตาขี้เกียจ ( Amblyopia ) คืออะไร ?
โรคสายตาขี้เกียจ จะทำให้การมองเห็นภาพลดลง เป็นผลจากความผิดปกติของพัฒนาการ การมองเห็นของทารกหรือช่วงวัยเด็ก สายตาขี้เกียจเกิดจากการขนส่งกระแสรับภาพระหว่างตาและสมองทำงานไม่เต็มที่ ทำให้สมองรับภาพจากตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง หรือสมองเพิกเฉยต่อการรับภาพของตาข้างที่ด้อยกว่า ทำให้การมองเห็นของตาข้างนั้นลดลง สายตาขี้เกียจมักเกิดในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6–7 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะทำให้ตามัว การมองเห็นลดลงอย่างถาวร
อาการสายตาขี้เกียจ ( Amblyopia )
- ตาเข
- ตา2ข้างทำงานไม่ประสานกัน
- มีสายตาสั้น ยาว เอียงมากเกินไป หรือไม่เท่ากันระหว่างตา2ข้าง
- มองภาพไม่ชัด โดยเฉพาะภาพที่มีความละเอียดสูง
สาเหตุของสายตาขี้เกียจ
- การทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตาทำงานไม่สมดุลกัน
- การเบี่ยงเบนสายตา ใช้ตาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง เช่น มีการติดเชื้อหรือเป็นต้อกระจกบริเวณตาข้างขวา ทำให้ใช้เพียงตาข้างซ้ายในการมองเห็น
- มีสายตาสั้น หรือเอียงทั้งสองข้างมากเกินไปหรือไม่เท่ากันทั้ง2ข้าง
- ความบกพร่องของอวัยวะรับภาพหรือแปลผลภาพเช่นเส้นประสาทตาฝ่อแผลบริเวณจุดรับภาพในจอตาและการเสียหายของสมองส่วนที่แปลภาพจากการขาดออกซิเจน
การป้องกัน
แนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคสายตาขี้เกียจโดยจักษุแพทย์โรคตาเด็กและตาเขเพื่อหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจ การได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างทันท่วงทีตั้งแต่เด็กเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากการรักษาโรคสายตาขี้เกียจจะได้ผลดีมากในเด็กเล็ก
การรักษาโรค
- ใส่แว่นที่เหมาะสมกับค่าสายตาเพื่อให้เด็กสามารถมองเห็นชัดได้มากที่สุด
- ปิดตาข้างที่มองเห็นชัดเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่ไม่ชัดได้รับการพัฒนาการมองเห็น
- หยอดยาที่มีฤทธิ์คลายการเพ่งและขยายม่านตาในตาข้างที่มองเห็นชัดให้เบลอเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่ไม่ชัดได้รับการพัฒนาการมองเห็น