อัปเดตวัคซีน COVID-19 รวมสรุป ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2563
5 ประเด็นความรู้เกี่ยวกับ COVID-19 ที่เกิดขึ้นหลังพบการระบาดตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2563
ในช่วงเวลานี้พบว่าผู้ป่วย COVID-19 มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นจากเดิม นั่นเป็นเพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมาเรา มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสตัวนี้มากขึ้น 5 ประเด็นสำคัญเกิดขึ้นคือ
1. COVID-19 เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต เนื่องจาก ภาวะปอดบวม ปอดติดเชื้อ ดังนั้นใน
“ผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรง และมีภาวะการหายใจล้มเหลว การรักษาด้วยยาที่เหมาะสม คือ การให้ยา ร่วมกับการใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมไปถึงการใช้เครื่อง Ecmo (เครื่องช่วยพยุงการหายใจและปอด) จะเป็นการรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน”
แต่ในเวลานี้เราทราบว่า “เชื้อ” ไวรัส “อาจ” ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดของปอด และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนลดลง
“ดังนั้นการให้ออกซิเจนโดยเครื่องช่วยหายใจเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ใช่วิธีการรักษาที่เพียงพอในการรักษาภาวะการขาดออกซิเจน แต่เราต้องป้องกันและละลายก้อนเล็กๆในปอด” ซึ่งนำไปสู่คำถามเกี่ยวกับการรักษาว่า การใช้ยาป้องกันเกาะกลุ่มเกล็ดเลือดเช่น Asprin หรือยาละลายลิ่มเลือดเช่น Heparin จะสามารถนำมาช่วยรักษาหรือป้องกันภาวะนี้ได้หรือไม่
2. ผู้ป่วย COVID-19 หลายราย จะมีอาการที่เราเรียกว่า happy hypoxia คือ แม้ว่าระดับออกซิเจนในเลือดจะลดต่ำจนถึงระดับอันตราย แต่กลับยังไม่มีอาการรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยรู้ตัวว่าป่วยและไปโรงพยาบาลค่อนข้างช้า
ความรู้เกี่ยวกับโรคในเรื่องนี้ นำไปสู่การใช้เครื่องตรวจวัดออกซิเจน (Pulse oxymeter) ที่บ้าน เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนต่ำกว่า 93% ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา ทำให้แพทย์มีเวลาในการเข้ารักษา แก้ไขภาวะขาดออกซิเจนมากขึ้น อัตราการรอดชีวิตจึงสูงขึ้น
3. ในช่วงแรกยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษาไวรัสโคโรนา แต่ในเวลานี้เรามียาสำคัญ 2 ตัวที่ใช้ในการรักษาคือ Favipiravir และ Remdesivir
4. สาเหตุอีกประเด็นที่ทำให้คนไข้เสียชีวิต คือภาวะ Cytokine storm หรือระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองมากกว่าความเป็นจริง ซึ่งการเกิดภาวะนี้แม้ว่าจะช่วยจัดการกับเชื้อไวรัส แต่ยังอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยด้วย
การใช้ยาสเตียรอยด์ร่วมในสูตรการรักษา สามารถช่วยลดภาวะการอักเสบ และภาวะ Cytokine storm ในผู้ป่วยบางรายได้
5. ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนจะดีขึ้น โดยการแนะนำให้ผู้ป่วยนอนคว่ำหน้าท้อง (Alert prone position)