โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองเป็นจำนวนมาก ในช่วงอายุ 40 ปี ขึ้นไป

ซึ่งเริ่มมีอาการในผู้สูงอายุ หลัง 70 ปีได้ อาจไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน อาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์คือการสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยจะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย

 

อาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

ไม่รู้จักวิธีใช้ช้อนส้อม มีปัญหาในการกลืน การเคี้ยวอาหาร
ไม่ทราบวิธีการใส่เสื้อผ้า
กลั้นอุจจาระไม่ได้
มีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
ไม่รู้วันเวลาสถานที่
ไม่ยอมนอนในตอนกลางคืน
มักหลับมากในตอนกลางวัน

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทั้งกับตัวผู้ป่วยและผู้ดูแล ทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต พฤติกรรมสุขภาพที่ดีจะช่วยให้สมองมีความแข็งแรงและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

 

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันและชะลอการดำเนินของโรค

การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การออกกำลังกาย
มีชีวิตทางสังคมที่ดี