อาการของภาวะ สมองขาดออกซิเจน
สมองขาดออกซิเจน (Cerebral Hypoxia) คือ อาการที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ร่างกายของเรามีออกซิเจนต่ำลง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายอย่างอาการหายใจสั้นและถี่ ความจำเสื่อมชั่วคราว ชัก หรืออาจหมดสติได้ส่วนต่าง ๆ ของสมองที่ไวต่อการขาดออกซิเจนนั้นแตกต่างกัน
- สมองกลีบขมับ (Temporal lobe) เป็นส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุด (เกิดอาการผิดปกติเร็ว และได้รับผลกระทบมากที่สุด) โดยเฉพาะส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ส่ง ผลให้มีปัญหาในส่วนความจำ การ คิด การสั่งการ การจัดการ
- สมองส่วนซีรีเบลลั่ม/สมองน้อย (Cerebellum) ส่งผลให้มีอาการ เซ การทรงตัวผิดปกติ
- สมองส่วนเบซัลแกงเกลีย (Basal ganglia) ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
- สมองใหญ่ส่วนที่เรียกว่า กลีบหลัง/กลีบท้ายทอย (Occipital lobe) ส่งผลให้มีปัญหาด้านการมองเห็น ได้แก่ ลานสายตาผิดปกติ หรือตาบอดได้
อาการของสมองขาดออกซิเจน
ผู้ที่มีภาวะสมองขาดออกซิเจนจะมีอาการแสดง แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาที่สมองขาดออกซิเจน โดยอาจแสดง อาการเบื้องต้น เช่น รู้สึก มึนงง สับสน มีเหงื่อออกมาก การตัดสินใจแย่ลง เคลื่อนไหวลำบาก ขาดสมาธิ ความจำเสื่อมชั่วคราว แต่หากสมองขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- หายใจสั้น เร็ว ติดขัด เสียง หายใจมีเสียงหวีด
- ดวงตาไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง
- ชีพจรเต้นเร็ว
- ชักเกร็งกระตุก
- ลักษณะผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ
- หมดสติ
- หยุดหายใจ และเสียชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สมองขาดออกซิเจน
- กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
- ได้แก่ โรคหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคความดันโลหิตต่ำ โรคโลหิตจาง ปอดบวม โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะน้ำท่วมปอด โรคหลอดลมอักเสบ โรค ASL โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
- อยู่ในสถานที่ที่มีออกซิเจนน้อย
- ชอบเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ เช่น ว่ายน้ำ ฟุตบอล ดำน้ำ ปีนเขา ต่อยมวย เป็นต้น
- อุบัติเหตุ เช่น การจมน้ำ หรือสำลักน้ำ
วิธีป้องกันร่างกายจากภาวะสมองขาดออกซิเจน คือการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยเกินไป อยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดโรคประจำตัวในอนาคต หากเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนควรรีบพบแพทย์ในทันที เพื่อทำการรักษา การปล่อยไว้นานอาจส่งผลทำให้สมองตาย และอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วยได้