ฮีโมฟิเลีย: โรคพันธุกรรมที่ทำให้เลือดไหลไม่หยุด เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร รักษาอย่างไร
ฮีโมฟีเลีย เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ความสามารถของร่างกายในการสร้างลิ่มเลือดของกระบวนการแข็งตัวของเลือดลดลง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการห้ามเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกเป็นเวลานานขึ้นหลังจากได้รับบาดแผล และเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกภายในข้อต่อหรือสมอง ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงอาจมีอาการหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือระหว่างการผ่าตัดเท่านั้น
อุบัติการณ์ของโรคฮีโมฟิเลียในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือหรือยุโรปประมาณ 1:5,000 ถึง 1:10,000 สำหรับอุบัติการณ์ในประเทศไทยพบประมาณ 1:20,000 และพบโรคฮีโมฟีเลียเอ ได้บ่อยกว่าฮีโมฟีเลียบี ประมาณ 5 เท่า
ฮีโมฟิเลีย มีกี่ประเภท
ฮีโมฟีเลีย มี 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- ฮีโมฟีเลียเอ (Hemophlia A) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือด VIII ต่ำ (Coag. Factor VIII, อ่านว่า แฟคเตอร์ 8)
- ฮีโมฟีเลียบี (Hemophilia B) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือด IX ต่ำ (Coag. Factor IX, อ่านว่า แฟคเตอร์ 9)
โดยทั่วไปความผิดปกตินี้เกือบทั้งหมดได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ผ่านโครโมโซม X ที่ไม่สามารถทำงานในการสร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดดักล่าวได้เท่ากับคนทั่วไปได้
นอกจากนั้นยังพบว่า ฮีโมฟิเลียยังมีสาเหตุได้อีกหลายสาเหตุ เช่น
- ภาวะ Acquired Hemophiliaคือฮีโมฟีเลียที่เกิดในภายหลังในเนื่องจากแอนติบอดีที่สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านปัจจัยการแข็งตัวของเลือด โดยไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สามารถพบได้ แต่มีจำนวนน้อยกว่า
- ฮีโมฟีเลียซี (Hemophilia C) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือด XI (Coag. Factor XI, อ่านว่า แฟคเตอร์ 11) ในระดับต่ำ
- พาราเฮโมฟีเลีย ( Parahemophilia) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือด V (Coag. Factor V, อ่านว่า แฟคเตอร์ 5) ในระดับต่ำ
อาการแสดงของโรค
สัญญาณทั่วไปของโรคฮีโมฟีเลีย ได้แก่ :
- เลือดออกในข้อต่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการบวมและปวดหรือตึงที่ข้อต่อ มักมีผลต่อหัวเข่าข้อศอกและข้อเท้า
เลือดออกที่ผิวหนัง (ซึ่งเป็นรอยช้ำ) หรือกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนทำให้เกิดการสะสมของเลือดในบริเวณนั้น - เลือดออกในช่องปากและเหงือกและเลือดออกที่หยุดยากหลังจากสูญเสียฟัน
- เลือดออกแล้วหยุดยาก หลังมีบาดแผลหรือจากแผลผ่าตัด
- มีเลือดออกในกล้ามเนื้ออย่างมาก หลังการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
- เลือดออกที่ศีรษะของทารกหลังคลอดยาก
การรักษา
การรักษาคือ การทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่ขาดหายไป ซึ่งอาจทำได้เป็นประจำหรือในช่วงที่มีเลือดออก อาจมีการเปลี่ยนทดแทนที่บ้านหรือในโรงพยาบาล ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดนั้นทำจากเลือดของมนุษย์หรือโดยวิธี recombinant
อย่างไรก็ตาม พบว่าประมาณ 20% ของคนไข้ที่ได้รับสารทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือด จะพัฒนาแอนติบอดีต่อปัจจัยการแข็งตัวของเลือดซึ่งทำให้การรักษายากขึ้น
การรักษาด้วยยาอื่นๆ เช่น Desmopressin (DDAVP) อาจใช้ในผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียเอที่ไม่รุนแรง อาจให้กรด Tranexamic หรือกรด epsilon aminocaproic ร่วมกับปัจจัยการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันการสลายตัวของลิ่มเลือด
การใช้ยาแก้ปวดสเตียรอยด์และกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและบวมในข้อที่มีเลือดออก
การรักษาผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทางต่อปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
- ในกรณีคนไข้ฮีโมฟิเลยที่เกิดภูมิต้านทานต่อปัจจัยการแข็งตัวของเลือด รักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือคอร์ติโคสเตียรอยด์ซึ่งกำจัดแอนติบอดี
- ทางเลือกการรักษาอาจใช้ยากลุ่มกดภูมิคุ้มกันชนิดcyclophosphamide และ cyclosporine และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยสเตียรอยด์
- วิธีที่สามหรือการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous immunoblobulin: IVIG) ทางหลอดเลือดดำในปริมาณสูงซึ่งทำงานเพื่อช่วยควบคุมภาวะเลือดออก
การรักษาด้วย gene therapy
ในผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียขั้นรุนแรงการบำบัดด้วยยีนอาจลดอาการของผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียระดับเล็กน้อยหรือปานกลางได้ พบผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในฮีโมฟีเลียบี แต่อย่างไรก็ตาม การักษาด้วยวิธีนี้ยังอยู่ในระหว่างการวิจัยศึกษา ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับการยอมรับในการรักษาโรคฮีโมฟีเลีย
นพ. กิตติไกร ไกรแก้ว