เครื่องอัดแรงดันอากาศแรงดันบวก ( CPAP : Continuous Positive Airway Pressure ) เป็นเครื่องที่ใช้ในการรักษาผู้ที่นอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA : Obstructive Sleep Apnea ) หลักการในการทำงานคือ การใช้แรงดันอากาศในการช่วยเปิดทางเดินหายใจให้โล่งขึ้น เพื่อช่วยให้ออกซิเจนในอากาศ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่ายกายได้อย่างเพียงพอ
เครื่อง CPAP เหมาะสมกับใคร?
กรณีตรวจพบว่ามีอาการนอนกรนแบบอันตราย (จากการตรวจคุณภาพการนอน : Sleep Test ) คือ มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และมีค่าดัชนีการหยุดหายใจขณะหลับ (AHI : Apnea Hypopnea Index ) > 5 ครั้งต่อชั่วโมง แพทย์จะแนะนำให้ใช้เครื่อง CPAP เพื่อการรักษา
สาเหตุสำคัญของการนอนกรนคือ การที่ทางเดินหายใจตีบแคบลงขณะนอนหลับ จากปัจจัยต่างๆ เช่น กล้านเนื้อโคนลิ้นหย่อนตัว คอสั้น เนื้อเยื่อและไขมันบริเวณคอหนา เกิดลมผ่านช่องทางแคบจึงเกิดการสั่นกระพือของกล้ามเนื้อและเกิดเสียงกรนดังขึ้น กรณีที่รุนแรง อาจจะหย่อนตัวจนกระทั่งทางเดินหายใจปิดสนิท และเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้
เครื่อง CPAP จะช่วยถ่างขยายช่องทางเดินหายใจ ให้กว้างออก ซึ่งเป็นการแก้ไขที่สาเหตุโดยตรงของการนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างตรงจุด
อุปกรณ์สำหรับเครื่อง CPAP
- เครื่องอัดแรงดันอากาศแรงดันบวก (CPAP Device)
- หน้ากาก (CPAP Mask)
- สายรัดศีรษะ (Headgear)
- ท่อนำอากาศ
- อุปกรณ์เสริมอื่นๆ
- เครื่องช่วยหายใจ CPAP แรงดันคงที่ (Manual CPAP / Fixed CPAP) เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการใช้แรงดันไม่มากนัก เช่น ≤ 8 cmH2O
- เครื่องช่วยหายใจ CPAP แบบปรับแรงดันอัตโนมัติ (Auto CPAP) ) เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการใช้แรงดัน ≥ 9 cmH2O ไม่เกิน 20 cmH2O
- เครื่องช่วยหายใจ แบบแรงดัน 2 ระดับ (Bilevel PAP หรือ BiPAPเหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการใช้แรงดัน ≥ 20 cmH2O ขึ้นไป
ซึ่งหากเลือกประเภท รุ่น ไม่เหมาะสม เวลาหายใจออกจะอึดอัดมาก เพราะต้องหายใจสวนทางกับแรงลมที่เครื่องพ่นออกมา จะทำให้รู้สึกไม่สบาย
- เครื่อง Auto CPAP จะเป็นเครื่องที่สามารถ ปรับแรงดันลมอัตโนมัติตลอดทั้งคืน ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน โดยการตั้งค่าตามช่วงแรงดันไว้ เช่น 6-12 cmH2O เป็นต้น แต่ข้อจำกัดคือ ราคาจะสูงกว่ารุ่น Manual CPAP และในกรณีที่มีปัญหารุนแรงต้องใช้แรงดันสูงๆ เช่น ≥ 20 cmH2O ขึ้นไป
ซึ่งเราจะทราบว่า แรงดันที่เหมาะสมกับเรา คือระดับเท่าไหร่ ด้วยการตรวจ sleep test ก่อน เพื่อช่วยในการตัดสินใจก่อนเลือกรุ่น ของเครี่อง CPAP ต่างๆ และอยู่ภายใต้คำแนะนำการใช้งานโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
หน้ากาก (CPAP Masks)
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- Nasal Mask เป็นหน้ากากที่นิยมใช้กันมากที่สุด ใช้งานง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาลมรั่ว เหมาะสำหรับ ผู้ที่เริ่มต้น ใช้งานเครื่อง CPAP เป็นครั้งแรก
- Pillow Mask หน้ากากแบบสอดจมูก (Pillow mask)
หน้ากากจะแปะอยู่ปลายจมูก เมื่อใช้จะรู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ข้อเสียคือเกิดลมรั่วได้ง่าย เหมาะกับผู้ที่ใช้แรงดันลมไม่สูง ไม่เหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน CPAP
- Full Face Mask หน้ากากแบบครอบจมูกและปาก เหมาะสำหรับคนที่นอนอ้าปาก แก้ปัญหาลมรั่วออกทางปาก ข้อเสียก็มักจะมีอาการคอแห้ง หรือลมเข้าท้อง ทำให้ท้องอืด
ผลลัพธ์ที่ดี จากการใช้งานเครื่อง CPAP
- ขจัดอาการนอนกรน และนอนหลับได้ดีขึ้นพร้อมกับได้รับอากาศอย่างเต็มที่ ตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น
- ไม่รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ง่วงนอนตอนกลางวัน ไม่หลับในตอนขับรถ สมาธิดีขึ้น ความทรงจำดีขี้น อย่างที่ท่านรู้สึกได้ถึงความแตกต่าง ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มความปลอดภัยขณะขับขี่บนถนน
- ลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ความจำเสื่อม โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคซึมเศร้า เป็นต้น
ต้องการปรึกษาแพทย์ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการตรวจ Sleep Test หรือ เครื่อง CPAP ได้ที่
คุณปรียาลักษณ์
หัวหน้าแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม
โทร. 096-932-5936