ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณกลางลำคอส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้นหากมีความผิดปกติ จะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
2.ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
3.มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
อาการอย่างไรที่ควรเข้ารับการผ่าตัด
1. การทำงานของไทรอยด์ที่ผิดปกติแล้ว ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการกลืนแร่
2. มีก้อนบริเวณต่อมไทรอยด์ ซึ่งก่อให้เกิดการกดเบียดต่อการหายใจและการกลืน
3.บริเวณที่เป็นก้อนแล้วแพทย์ส่งชิ้นเนื้อตรวจวินิจฉัยแล้ว อาจมีความผิดปกติของก้อน ซึ่งความผิดปกตินี้ อาจหมายถึงมะเร็ง หรือความผิดปกติอื่น ๆ
4.ผู้ป่วยที่ประสงค์ที่จะนำก้อนออก
เทคนิคการผ่าตัดไทรอยด์ มีอยู่ 2 แบบ
1. การผ่าตัดไทรอยด์แบบแผลเปิด จะเป็นการผ่าโดยการกรีดเปิดแผลบริเวณกลางลำคอเพื่อนำเครื่องมือเข้าตัดก้อนเนื้อหรือต่อมไทรอยด์ออกมาเพื่อทำการรักษา ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้คือจะสามารถผ่าตัดก้อนเนื้อที่ผิดปกติได้ทุกขนาด แต่ข้อเสียคืออาจจะมีรอยแผลเป็นบริเวณลำคอ
2. การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง จะเป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องผ่าตัดขนาดเล็กโดยแพทย์จะเปิดแผลบริเวณด้านในริมฝีปากล่างและเหงือก การผ่าตัดวิธีนี้จะไม่มีรอยแผลเป็นด้านนอกที่ทำให้เกิดแผลเป็น เสียเลือดน้อย และหลังผ่าตัดจะทำให้ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต