ก้อนเนื้องอกในสมอง คืออะไร
คือก้อนเนื้องอกสมองเจริญเติบโตที่เร็วกว่าปกติ ซึ่งมีได้จากเนื้องอกของกลุ่มเซลล์สมองดั้งเดิม ( primay brain tumor ) กลุ่มเซลล์จากส่วนพื้นที่อื่นแพร่การจายมา (brain metastasis ) ซึ่งเนื้องอกสมองทุกชนิดไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะเนื้องอกกลุ่มเซลล์สมองดั้งเดิม บางส่วนเมื่อผ่าตัดแล้วผู้ป่วยสามารถหายได้ปกติ
อาการของเนื้องอกในสมอง
อาการเนื้องอกสมองขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด ความเร็วในการเติบโตของก้อน และการบวมของสมองที่เกี่ยวเนื่องจากก้อน ซึ่งจะมีผลต่อการกดเบียดเนื้อสมองส่วนที่ติดกัน ซึ่งอาการที่พบบ่อยได้แก่
- ปวดหัวต่อเนื่อง ที่เดิมซ้ำๆ มักเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ (progressive headache) เนื่องจากก้อนโตขึ้นตามลำดับเวลา และเมื่อโตขึ้นจะไปกดเบียดการไหลเวียนของโพรงน้ำในสมอง เพิ่มแรงดันสมองสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะมีคลื่นไส้อาเจียนโดยเฉพาะตอนเช้าๆ เมื่ออาเจียนอาการปวดหัวค่อยทุเลาลง
- ปวดรุนแรงแบบไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อปวดครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ฉีดยาหรือกินยาไม่หายหรืออาจดีขึ้นบ้าง แล้วก็กลับมาแย่ลงดังเดิม
- มีแขนขาอ่อนแรง มักเกิดจากก้อนเนื้องอกโตหรือบวมไปกดเบียดเนื้อสมองส่วนทำหน้าที่เฉพาะนั้นๆ เช่น แขนขาอ่อนแรง มือหยิบสิ่งของไม่ถนัด อาการมักเป็นมากขึ้นเรื่อยตามระยะเวลา อย่างไรก็ตามเราว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมาห้องฉุกเฉิน ด้วยอาการแขนขาอ่อนแรงฉับพลันขึ้นได้คล้ายกับหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (ct brain) หรือเอ็มอาร์ไอ (mri brain) จะช่วยการวินิจฉัยโรคได้
- ซึมลง การรับรู้เปลี่ยนแปลง สื่อสารเข้าใจยาก ตอบไม่ตรงคำถาม พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น เดิมมักเดินไปจ่ายตลาด ทำกับข้าวประจำ ออกไปทำงานได้ แต่ช่วง 2-3 เดือนหลังไม่ยอมออกไปไหน นั่งอยู่เฉย หรือความสามารถสื่อสารเล่าเรื่องเปลี่ยนไป พูดซ้ำๆจับใจความยาก หลงลืมง่ายซึ่งบางครั้งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะสมองเสื่อม ชราตามวัย
- ชัก เกร็งกระตุก ผู้ป่วยมักมีสับสนหลังชักช่วงขณะหนึ่งก่อนกลับมารับรู้ได้ปกติ การชักไม่ใช่อาการจำเพาะของเนื้องอกสมอง สามารถพบได้ตั้งแต่ภาวะหยุดเหล้ากระทันหัน เลือดออกเยื่อหุ้มสมอง อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ป่วยชักครั้งแรกควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุเนื้องอกที่อาจเจอได้
แนวทางการรักษา
สิ่งสำคัญคือการรู้ชนิดของเนื้องอกเพื่อกำหนดแนวทางการรักษา การผ่าตัดโดยหลักการจะพยายามผ่าตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าก้อนอยู่ประชิดจุดสำคัญของเนื้อสมองเกินไปก็จะเป็นข้อจำกัดให้ผ่าตัดออกเพียงบางส่วนก่อน นอกเหนือการผ่าตัดจะเป็นการฉายแสง ให้เคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะจำเพาะของเนื้องอกนั้นๆที่ตอบสนองต่อการรักษาไม่เหมือนกัน
ในระหว่างการรักษาจำเพาะ แพทย์ส่วนใหญ่จะให้ยาลดการบวมของสมอง ซึ่งมักเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น เด็กซ่าเมทาโซน (dexamethasone), เพร็ดนิโซโลน (prednisolone) ยากลุ่มนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีแรงได้เร็วขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนสมองบวมหลังการฉายแสง