“คนไทยถูกตัดขา 40,000 คนต่อปี จากโรคเบาหวาน”

โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหนึ่งของการปวดขา

เรามักเข้าใจกันว่าอาการปวดน่อง ปวดขา หรือปวดบริเวณเท้า เกิดจากสาเหตุของโรคในระบบกระดูกและข้อ หรือโรคของระบบบริเวณประสาท และบางคนคิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ

  …จริงแล้ว… อาการปวดน่อง ปวดขา โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานเป็นอาการเตือนที่สำคัญ ที่บอกว่าท่านเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีนตัน โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเวลาที่เดินหรือออกกำาลังกาย หากไม่ดูแลและรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านต้องสูญเสียขาในอนาคต

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน

หากจะเปรียบเทียบไปแล้ว หลอดเลือดก็จะเหมือนท่อประปา เมื่อใช้งานไปนานๆจะมีตะกรันเกิดขึ้นในท่อน้ำ เมื่อมีการสะสมนานวันและมากขึ้นก็จะทำให้ขนาดของท่อประปาแคบลง น้ำที่เคยไหลได้ดีก็จะเปลี่ยนเป็นไหลกะปริดกะปรอย ตะกรันในท่อประปาที่ว่าก็คือ ลิ่มไขมันในหลอดเลือด เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการสะสมของลิ่มไขมันและหินปูนแคลเซียมตามผนังหลอดเลือดมากขึ้น และเกิดมีการตีบตันในที่สุด ทำให้เลือดไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ขาได้เพียงพอ จึงทำให้มีอาการเจ็บหรือปวดขาเวลาที่เดิน

สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน

  • โรคเบาหวาน
  • สูบบุหรี่
  • ระดับไขมันในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • อายุมาก (40 ขึ้นไป)
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • มีประวัติญาติหรือบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือด
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก กุ้ง

อาการ

  • ปวดขา ปวดน่อง หรือปวดเท้า โดยเฉพาะเวลาเดินหรือออกกำลังกาย
  • เท้ามีอาการชา หรือสีซีด คล้ำลง (เหมือนขาดเลือด) ในบางรายอาจมีอาการเย็นที่เท้า
  • แผลที่เท้า หรือนิ้วท้าที่รักษายาก หายช้า มักพบในผู้ที่มีโรคเบาหวานประจำตัว บางครั้งแผลลุกลามจนเกิดเน่า เกิดแผลเนื้อตายจนไม่สามารถรักษาได้ สุดท้ายเกิดการติดเชื้อ และต้องสูญเสียขา โดยการตัดขา

เราจะตรวจโรคนี้ได้อย่างไร

การวินิจฉัยโรคนี้มีหลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางโดยแพทย์ทั่วโลกและเป็นวิธีที่สะดวก ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ความแม่นยำสูง และไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บ คือการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ABI

ABI (Ankle-Branchial Index)

  • การตรวขด้วยเครื่อง ABI คือ การวัดความดันของหลอดเลือดแดงที่แขน เปรียบเทียบกับข้อเท้า ค่าที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าการไหลเวียนของกระแสเลือดทั่วร่างกายนั้นมีแรงดันเท่ากันหรือไม่
  • ในกรณีของคนปกติ ค่าที่ออกมาจะเท่ากับ 1.0 หรือมากกว่า คือ การไหลเวียนของประแสเลือดเท่ากันทั่วร่างกาย
  • ในกรณีผิดปกติ ค่าออกมาจะน้อยกว่า 1.0 และจะผิดปกติรุนแรงกมากขึ้นถ้าค่าต่ำกว่า 1.0 มากๆ เช่น 0.4 รุนแรงกว่า 0.7
  • ความรุนแรงของโรคสัมพันธ์กับระยะเวลาในการวินิจฉัย คือยิ่งคุณทราบว่าเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันเร็ว ความรุนแรงของโรคมักจะน้อยกว่าเมื่อทราบภายหลัง และแพทย์จะสามารถรักษาโรคของคุณได้ง่ายและเร็วขึ้น

การป้องกัน

  • หยุดสูบบุหรี่
  • ควบคุมเบาหวาน ไขมัน และความดันโลหิต
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 วัน

วิธีการป้องกัน

  • รับประทานยาละลายเกล็ดเลือดและยาขยายหลอดเลือดที่ขา ร่วมกับการออกกำลังกาย
  • การผ่าตัดบายพาส เพื่อเชื่อมต่อหลอดเลือด วิธีนี้วิธีใช้กับผ้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงมาก ผู้ป่วยได้รับการวางยาสลบและไม่รู้สึกตัวระหว่างการรักษา หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแผลผ่าตัด และใช้เวลาในการพักฟื้นนาน
  • การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด (Stent) เป็นวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยกว่า โดยแพทย์ใช้เครื่องมือที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มม. สอดผ่านเข้าทางหลอดเลือดเพื่อทำการรักษา ผู้ป่วยรู้ตัวตลอดการรักษา สามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน ใช้เวลาในการพักฟื้นสั้น และได้ผลในการรักษาเช่นเดียวกัน