โรคเบาหวาน หมายถึง โรคเบาหวานเป็นกลุ่มโรคของความผิดปกติของการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องของการหลั่ง insulin หรือการออกฤทธิ์ของInsulin หรือทั้งสองสาเหตุ ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะระดับน้ำตาลสูงเรื้อรังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายในระยะยาว การสูญเสียหน้าที่ และความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของตา ไต ระบบประสาทหัวใจและหลอดเลือด

สาเหตุ

  • ความผิดปกติของตับอ่อน ตับอ่อนจะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน หากตับอ่อนมีการเสื่อมสภาพ หรือเกิดความผิดปกติก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานได้
  • โรคอ้วน คนที่มีน้ำหนักเยอะ ไขมันส่วนเกินจะสร้างสารที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินได้ไม่ดี หรืออาจเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้น
  • การไม่ออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน พฤติกรรมการรับประทานอาหาร   พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา  การไม่รับประทานผักและผลไม้การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งมีส่วนประกอบแป้ง น้ำตาล และไขมันทรานส์ หรือพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
  • พันธุกรรม เบาหวานมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวานก็ไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเบาหวานทุกราย

อาการเตือน ได้แก่ กระหายน้ำมาก อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อยและมากในเวลากลางคืน  ซึ่งนอกจากนี้ยังพบอาการ ตามัว อารมณ์อ่อนไหว โกรธง่าย เป็นแผลหายยาก ซึม อ่อนเพลีย ผิวแห้ง  อาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น

การรักษา โรคเบาหวาน

  1. การประเมินการควบคุมระดับน้ำตาล ผู้ที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และคงที่แนะนำให้ทำการตรวจวัดระดับ HbA1c
  2. การปรับเปลี่ยนโภชนาการ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับ HbA1c ระดับไขมัน LDL HDL Triglyceride ความดันโลหิต และน้ำหนักตัว
  3. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดน้ำหนัก ควรจะมีการปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม