ภาวะ โพแทสเซียมในเลือดต่ำ สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจดูค่าเลือดโพแทสเซียมในเลือด การซักประวัติอาการที่นำมาโรงพยาบาล ประวัติโรคประจำตัว การใช้ยาบางชนิด การตรวจร่างกาย หรือการดูจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น โดยปกติระดับโพแทสเซียมจะอยู่ที่ประมาณ 3.6 – 5.2 มิลลิโมล/ลิตร เมื่อโพแทสเซียมในร่างกายน้อยกว่า 2.5 มิลลิโมล/ลิตร จะอยู่อยู่ในภาวะโพแทศเซียมในเลือดต่ำ
สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
- การสูญเสียน้ำในร่างกายจากอาการท้องเสีย หรืออาเจียนรุนแรง, เหงื่อออกมากจากการออกกำลังกายที่มากเกินไป
- การรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ เป็นประจำ เช่น หน่อไม้ ถั่วงอก ข้าว เป็นต้น, พิษสุราเรื้อรังหรืออาการติดสุรา
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคหัวใจบางชนิด หรือยาปฏิชีวนะบางชนิด
- โรคไตเรื้อรัง หรือการทำงานของต่อมหมวกไตบกพร่อง
- ภาวะเลือดเป็นกรดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ภาวะอัลโดสเตอโรนสูง เมื่อต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนแอลโดรสเตอโรนมากเกิน ทำให้ความดันโลหิตสูงและส่งผลให้โพแทสเซียมต่ำลง
อาการเมื่อโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
ลักษณะและความรุนแรง ขึ้นอยู่กับระดับของโพแทสเซียมในเลือด หากโพแทสเซียมลดลงเล็กน้อยผู้ป่วยอาจยังไม่ปรากฏอาการใด ๆ หรืออาจมีอาการไม่รุนแรงเช่น อาการท้องผูก อ่อนล้ากล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือปวดเกร็ง เป็นเหน็บชา หากระดับโพแทสเซียมในเลือดลดลงต่ำมาก ผู้ป่วยยอาจมีอาการรรุนแรงขึ้น เช่น หน้ามืด เป็นลม ภาวะหายใจล้มเหลว ภาวะลำไส้อืด สูญเสียเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เป็นอัมพาต ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ หัวใจหยุดเต้น เมื่อมีปริมาณโพแทสเซียมต่ำมากเกินไป
การรักษา
- หยุดหรือลดปริมาณยาที่อาจทำให้โพแทสเซียมต่ำ ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ไม่ควรหยุดยาเอง อาจทำให้อาการที่เป็นอยู่กำเริบมากขึ้น
- รับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดไม่ต่ำจนเกินไป
- ฉีดโพแทสเซียมเข้าสู่หลอดเลือดดำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำที่ทำให้ อัตราการเต้นของหัวใจเต้นผิดปกติและร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียม