โรคตุ่มน้ำพอง หรือโรคภูมิเพี้ยน เกิดขึ้นจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติที่แสดงออกทางผิวหนังอย่างรุนแรง มักพบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงในอายุเฉลี่ย 50 – 60 ปี โรคตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันจะมีลักษณะผิวหนังจะเป็นตุ่มพองน้ำ พบได้ไม่บ่อยมาก สาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง จึงทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกัน และกลายเป็นตุ่มน้ำหรือแผลถลอก หรือจากการติดเชื้อ การแพ้ยา แพ้สารเคมี เป็นต้น
อาการของโรคตุ่มน้ำพอง
ตุ่มพองที่ผิวหนัง ขนาดแตกต่างกัน อาจมีตุ่มพองแผลที่บริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น ในปาก ทางเดินหายใจ อวัยวะเพศร่วมด้วย เมื่อตุ่มแตก ก็จะเจ็บมาก ผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้นในอายุ 50 – 60 ปี จะเกิดจากความผิดปกติที่ชั้นผิวหนังกำพร้าในผิวหนังชั้นตื้น โดยลักษณะแผลจะเหมือนถูกน้ำร้อนลวกเป็นบริเวณวงกว้าง ซึ่งแผลอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นหนอง ถ้ารุนแรงก็จะเกิดติดเชื้อในกระแสเลือด มีไข้ และเสียชีวิตได้
ตำแหน่งที่พบบ่อย
- ศีรษะ
- หน้าอก
- หน้าท้อง
- บริเวณที่ผิวหนังเสียดสีกัน
การดูแลโรคตุ่มน้ำพอง
- พบแพทย์สม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาหรือปรับขนาดยาเอง ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
- ดูแลบาดแผล ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ และแผลที่ติดเชื้อ ด้วยเบตาดีน ชำระล้าง ทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่แกะเกาผื่นแผล ไม่พอกยาสมุนไพรหรืออื่นๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผล
- ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ และไม่ไปในสถานที่แออัด แหล่งชุมชน เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
- สวนใส่เสื้อผ้าที่นุ่มสบาย สะอาด อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เหมาะสม ไม่หนักเกินไป
- นอกพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่สุกสะอาด อาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัด งดเนื้อ นม ไข่ กิน ผัดหลากสี มากกว่า 30 ชนิด ถั่ว เห็ด เครื่องเทศ
- หลีกเลี่ยงผักดิบ ผลไม้ควรปอกเปลือกก่อนรับประทาน
- สังเกต หากมีอาการปวดท้องอุจจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ไข้สูง ไอ ปัสสาวะแสบขัด ควรรีบพบแพทย์
- คุมกำเนิด หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่ใช้ควบคุมโรคอาจมีผลต่อทารกในครรภ์
- หลีกเลี่ยงแสงแดด และความเครียด
การรักษา
1.การรักษาด้วยยา
รักษาด้วยยา เพรดนิโซโลน (prednisolone) ซึ่งจะเริ่มให้ยาด้วยขนาดสูงเพื่อให้คุมโรคได้ก่อน แล้วจึงปรับลดขนาดยาลง การรักษาด้วยวิธีการให้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อควบคุมโรค โดยต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาและผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
2.การรักษาด้วยการถ่ายเลือด Double Filtration Plasmapheresis (DFPP)
หรือการ D-Tox เลือด DFPP เป็นกระบวนการกรองน้ำเลือด หรือ พลาสมา เพื่อนำพลาสมาที่ไม่ดีออกจากร่างกาย โดยการแยกภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติแล้วก่อให้เกิดโรคออกไป เก็บเม็ดเลือดที่ดีก็ส่งคืนกลับสู่ร่างกาย พร้อมกับชดเชยส่วนของพลาสมา ด้วยโปรตีน Albumin
ขั้นตอนการทำ D-Tox เลือด
- วัดสัญญาณชีพ
- พบแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมโรคไตเพื่อปรึกษาและตรวจสุขภาพ
- เจาะเลือดบริเวณข้อพับแขน โดยผลเลือดจะใช้ระยะเวลาตรวจ 1.30 ชม.
- ขณะทำการดึงเลือด ต้องไม่งอแขนทั้ง 2 ข้าง โดยวางแขนในท่าเหยียดนาบไปกับลำตัว หากมีอาการปวดเมื่อย คัน เจ็บ จะมีพยาบาลอยู่ข้างเตียงสามารถแจ้งให้ช่วยเหลือทันที
- การ D-Tox เลือดจะใช้เวลาในการทำประมาณ 1.30 – 3 ชม. ขึ้นอยู่กับการไหลเวียนของเลือของแต่ลุบุคคล
ข้อดีของการทำ Plasmapheresis ( D-Tox เลือด )
ถ้าร่างกายผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาได้ดี อาจจะทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว ลดความรุนแรงของโรคลงได้ดีเนื่องจากเป็นการนำเอาสารตั้งต้น ที่ทำให้เกิดโรคออกไปได้โดยตรง ความต่อเนื่องของการทำซ้ำจะขึ้นอยู่กับอาการของโรค แต่โดยส่วนมาก ผู้ป่วยมักจะตอบสนองต่อการรักษาดี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-5 ครั้ง ภายใน 2-4 สัปดาห์ หลังจากทำแล้วสามารถกลับบ้านได้ ไม่จำเป็นต้องนอนที่โรงพยาบาล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณปรียาลักษณ์
หัวหน้าแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม
โทร. 096-932-5936