โรคที่พบบ่อยในผู้สูบบุหรี่ มีดังนี้
- โรคมะเร็งปอด
ในบุหรี่ มีสารก่อมะเร็ง มากกว่า 60 ชนิด และยังเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด 80-90% สารพิษในบุหรี่ทำให้เยื่อบุหลอดลมปอดเกิดการระคายเคือง สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานหรือสูบบุหรี่จัด ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์หลอดลมจนเป็นเซลล์มะเร็ง
การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมีอาการของมะเร็งที่ลุกลามแล้ว
# อาการโรคมะเร็งปอด เช่น
- ไอเป็นเลือด
- น้ำหนักลด
- หอบเหนื่อย
- ปวดกระดูก
- มีอาการบวมบริเวณหน้า คอ แขน และอกส่วนบนจากก้อนมะเร็งกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ เป็นต้น
# กลุ่มที่ความเสี่ยง ในการเกิดโรคมะเร็งปอด
- ผู้ที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด > ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 20-30 เท่า
- ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด > คนปกติ 2-1.5 เท่า
- ผู้ป่วยมะเร็งปอด หลังจากเริ่มมีอาการ จะมีชีวิตอยู่ได้โดยเฉลี่ย 6 เดือน และ 80% จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี
- ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 2 ซองต่อวัน ติดต่อกัน >15 ปี ควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ปอด เพื่อดูว่าเป็นมะเร็งปอดหรือไม่ หากตรวจพบในระยะแรกมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้
- โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
- ในบุหรี่มีสารพิษ ที่ทำให้เลือดมีความหนืด เกล็ดเลือดเกาะตัวกันง่ายขึ้น ทำให้ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
- ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารอนุมูลอิสระนี้ เป็นสาเหตุของการอักเสบและแข็งตัวของหลอดเลือด
- สารนิโคติน ที่ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายตีบแคบ เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
- คาร์บอนมอนนอกไซด์ ในควันบุหรี่ ทำให้เม็ดเลือดจับออกซิเจนได้น้อยลง หากเกิดกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจขาดออกซิเจน เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ หากเกิดกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทำให้สมองเสื่อม หลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก นำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้
- ผู้สูบบุหรี่ จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจวาย มากกว่าผู้ที่ไม่สูบที่มีอายุเท่ากันถึง 5 เท่า
- ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 2 ซองต่อวัน เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน เพิ่มขึ้น 2-4 เท่า
- ถุงลมโป่งพอง
- ภายในปอดของเราประกอบด้วยถุงลมเล็กๆ จำนวนมาก ทำหน้าที่ฟอกเลือด และนำออกซิเจนไปให้เลือดดำ หากสูบบุหรี่จัดเป็นระยะเวลานาน สารพิษในควันบุหรี่ จะไปทำลายผนังถุงลม ส่งผลให้เกิดภาวะถุงลมบวมอักเสบ และฉีกขาด ทำให้ปอดไม่สามารถฟอกเลือดได้ตามปกติ รับออกซิเจนได้ไม่เพียงพอ ปอดขาดประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน จึงทำให้มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ในรายที่เป็นมากจะไม่สามารถทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติเพราะจะเหนื่อยมาก จนต้องนอนอยู่กับที่และรับออกซิเจนช่วยตลอดเวลา และจะทรมานจากการหอบเหนื่อยจนกว่าจะเสียชีวิต
# อาการถุงลมโป่งพอง
- หายใจตื้น เหนื่อยง่าย เนื่องจาก เนื้อปอด/ถุงลมที่ถูกทำลายไปแล้ว ก็จะไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนสู่ปกติได้
- หัวใจเต้นเร็ว
- น้ำหนักลด
- ซึมเศร้า และ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
- ในระยะรุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยทรมานมาก เนื่องจากภาวะเหนื่อยมากจนต้องนอนติดเตียง หรือต้องได้รับออกซิเจนตลอดเวลา
- ปอดอักเสบ (ปอดบวม)
คือ ภาวะติดเชื้อในปอด เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
- เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อVirus เชื้อBacteria และเชื้อ Fungus
- ระบบทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง จากฝุ่น สารเคมี โดยเฉพาะควันบุหรี่
# อาการ (อาการคล้ายเป็นหวัด) ; หายใจลำบาก ปวดศีรษะ มีไข้ หนาวสั่น ไอ เจ็บคอ หากอาการรุนแรง จะมีอาการเจ็บหน้าอก อาเจียน และมีเสมหะปนเลือด
# กลุ่มเสี่ยงของปอดอักเสบ มักพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีภูมิต้านทานต่ำ หากการติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมถึงได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น
- วัณโรคปอด
เนื้อปอดถูกทำลายจากสารพิษในควันบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพการขจัดเชื้อวัณโรคที่หายใจเข้าไปลดลง ส่งผลให้ติดเชื้อวัณโรคง่ายขึ้น เมื่อผู้สูบบุหรี่ ได้รับเชื้อวัณโรค ร่างกายจะควบคุมเชื้อไม่อยู่ โรคจะรุนแรง ลุกลามเร็ว รักษายากขึ้น และมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า
# อาการของโรควัณโรคปอด
- ไอเกิน 2 สัปดาห์
- ไอเสมหะมีเลือด
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยง่าย
- เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
- มีไข้ต่ำๆ
- เหงื่อออกกลางคืน
- โรคหอบหืด
เกิดขึ้นได้อย่างไร
ผิวหลอดลมเกิดการระคายเคือง จากควันบุหรี่ ทำให้ขนเล็กๆ ที่ผิวหลอดลมไม่ทำงาน ฝุ่นและเสมหะจะตกค้างในหลอดลม หากสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ อาการหอบหืด จะรุนแรงและควบคุมยากขึ้น เมื่อหลอดลม เกิดการระคายเคือง ผิวหลอดลมจะเกิดอาการอักเสบ กล้ามเนื้อรอบหลอดลมหดตัว ทำให้รูหลอดลมเล็กลง ลมหายใจเข้าออกลำบาก เกิดเป็นอาการหอบหืดได้ ปอดจะเสื่อมเร็วขึ้น ร่างกายตอบสนองต่อการรักษาน้อย และต้องใช้ยามากขึ้น