โรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี (พบไวรัสครั้งแรกในปี 1958) มีรังโรคอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ และติดต่อไปยังสัตว์อื่น ในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่าย และสัตว์ฟันแทนอื่น เช่น กระรอกดิน

การติดต่อ/แพร่เชื้อของโรค

จากสัตว์สู่คน

คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับ

  • เลือด ของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • สารคัดหลั่ง ของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • ตุ่มหนอง ของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน
  • กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  • ติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย

จากคนสู่คน

การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางละอองฝอยทางการหายใจ
  • สัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย
  • สัมผัสเลือดหรือรอยโรคที่ผิวหนัง
  • สัมผัสของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย

โรคนี้อาจ “แพร่กระจายแบบเดียวกับการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์”
หลังได้รับเชื้อโรคนี้มีระยะฟักตัว 7 – 14 วัน หรืออาจนานได้ถึง 21 วัน

อาการ

  •  ไข้
  •  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  •  ปวดศีรษะ
  •  อ่อนเพลีย
  •  มีผื่นคล้ายโรคอีสุกอีใส บริเวณใบหน้า ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุภายในปาก อวัยวะเพศ และเยื่อบุตาและลามไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  •  ผื่นเริ่มจาก ผื่นราบ-ผื่นนูน กลายเป็น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองแตกออก และตกสะเก็ดในที่สุด
  •  ต่อมน้ำเหลืองโต

จุดแตกต่างระหว่างฝีดาษกับฝีดาษลิง คือฝีดาษจะไม่มีต่อมน้ำเหลืงโต เช่นเดียวกับในฝีดาษลิง ภายใน 1-3 วัน

การตรวจวินิจฉัยตรวจด้วย PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง

การป้องกัน

  •  ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่
  •  งดรับประทานของป่า เนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ
  •  หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าที่ป่วย
  •  หลีกเลียงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยง และมีอาการ

ปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิงในสหรัฐอเมริกา คือ JYNNEOS
คนที่เคยฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ (ทั้งนี้ประเทศไทยเลิกฉีดไปในปี 2523) จะยังสามารถป้องกันฝีดาษลิงได้ ประมาณ 85% ทั้งนี้ระบบภูมิคุ้มกันยังต้องดีอยู่

ไวรัสตัวนี้มี 2 สายพันธุ์ แตกต่างกันในเรื่องความรุนแรง

1. สายพันธุ์แอฟริกากลาง Central African Clade
2.สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก West African Clade
โดยสายพันธุ์แอฟริกากลางมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก

สำหรับไวรัสตัวที่ระบาดอยู่ตอนนี้คือ ตัวสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นตัวที่มีความรุนแรงน้อยกว่า โดยอัตราการตายของคนที่ติดสายพันธุ์นี้อยู่ที่ร้อยละ 1 ในขณะที่สายพันธุ์แอฟริกากลางอยู่ที่ร้อยละ 10