โรคพุ่มพวง (Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE) เป็นโรคภูมิต้านทานตัวเองผิดปกติ (Autoimmune disease) ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเนื้อเยื่อและอวัยวะของตัวเอง สามารถเกิดได้กับหลายระบบในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ข้อ ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท
สาเหตุของการเกิดโรค ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่ ทางพันธุกรรม ยาบางประเภท การติดเชื้อบางชนิด ฮอร์โมนเพศหญิง (พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 9:1) แสงแดด ความเครียด
อาการของโรค ได้แก่ ผื่นแดงที่บริเวณแก้มรูปผีเสื้อ ผมร่วง ไข้ อ่อนเพลีย ปวดข้อหรือข้ออักเสบ แพ้แสงแดด ไตอักเสบ อาการทางระบบประสาท เช่น ชัก ปวดหัว
ผลกระทบจากการเกิดโรค คุณภาพชีวิตลดลง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไตวาย ส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์
การวินิจฉัย
- ตรวจร่างกาย
- ตรวจการทำงานของไต
- ตรวจเลือดหา Anti-nuclear antibodies (ANA) Anti-dsDNA Complement levels
- ตรวจปัสสาวะ
- อาจต้องตรวจชิ้นเนื้อในบางกรณี
การรักษา
- ใช้ยาตามอาการและความรุนแรง ได้แก่ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านมาลาเรีย
- การรักษาตามอาการเฉพาะของแต่ละระบบที่มีปัญหา
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการออกแดดจัด
- ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ
- ไม่หักโหมงานหนัก พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเหลี่ยงความเครียด
- ออกกำลังกายให้เหมาะสม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอไม่หยุดรับประทานยาเอง
- สังเกตอาการผิดปกติและรีบไปปรึกษาแพทย์
แม้ว่าโรคพุ่มพวงจะเป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการและใช้ชีวิตได้เกือบปกติหากได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมและต่อเนื่อง การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกและการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจะช่วยให้การควบคุมโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น