มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่าผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อนมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตสูง

ปัจจัยเสี่ยง

  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้หญิงที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี และผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรเป็นมะเร็งของอวัยวะอื่นในร่างกายซึ่งเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของยีน (BRCA1 หรือ BRCA2) เช่น มะเร็งรังไข่ ผู้หญิงที่มีเต้านม
  • ผู้หญิงที่มีนมเต่งตึงกว่าอายุ (dense breast)
  • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาก่อนอายุ 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี
  • ผู้หญิงที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้หญิงที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่
  • ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • ผู้หญิงที่มีความเครียดสูง ออกกำลังกายน้อย
  • ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว 1 ข้าง พบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งอีกข้างสูงถึง 5 เท่า

ระยะของมะเร็งเต้านม

  • ระยะ 0 – เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื้อเต้านม
  • ระยะ 1 – ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะ 2 – ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  • ระยะ 3 – ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  • ระยะ 4 – มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ แล้ว

ระยะของมะเร็งเต้านม

  • ก้อนที่เต้านม
  • เต้านมมีการอักเสบเจ็บหรือปวดที่เต้านม
  • พบรอยบุ๋มที่ผิวหนังบริเวณเต้านม
  • มีเลือดหรือ discharge ออกจากหัวนม
  • พบการเปลี่ยนของสีหรือรูปร่างของเต้านม
  • การเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่นหัวนมถูกดึงรังหรือบุ๋มลงไปไม่มีอาการ แต่พบความผิดปกติจากการคัดกรองด้วยเครื่องตรวจมะเร็งเต้านมดิจิตอลแมมโมแกรม

การตรวจเต้านมตนเอง

ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 7-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดูหรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

วิธีการตรวจ 3 ท่า

  1. ยืนหน้ากระจก
    • ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
    • ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ
    • ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น
    • โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง2ข้างท้าวเอว
  2. นอนราบ
    • นอนให้สบายตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา
    • ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุดและมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด
    • ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง)คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านมเพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย
  3. ขณะอาบน้ำ
    • สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน
    • สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน

ข้อควรจำ

  • เรียนรู้วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเองจากแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • ตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง
  • พบแพทย์ทันทีที่พบสิ่งผิดปกติบนเต้านม
  • พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมปีละครั้งเมื่ออายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
  • ก้อนมะเร็งยิ่งเล็กยิ่งมีโอกาสรักษาหาย โดยไม่ต้องตัดเต้านม

อ้างอิงจาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ กรมอนามัย