ไขมันในเลือดสูคือภาวะที่ระดับไขมันในเลือดสูงจนอาจส่งผล ก่อให้เกิด อันตรายต่อร่างกาย โดยไขมันชนิดหลักที่พบในเลือดมี 2 ชนิด ได้แก่

ไตรกลีเซอไรด์  (Triglycerides) ได้มาจากร่างกายสร้างขึ้นหรือได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เช่น เนื้อแดงหรือผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมัน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำตาลทราย น้ำตาลฟรักโทส
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) มีความจำเป็นต่อเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเป็นไขมันที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นจากตับและสามารถพบได้ในอาหาร เช่น ไข่ สัตว์เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ และชีส

อาการของไขมันในเลือดสูง

ในระยะแรก อาจตรวจพบได้ยาก เพราะไม่มีอาการแสดงแต่หากในร่างกายมคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน ต่อมาอาจเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงและเลือดไหลเวียนได้ลำบาก ส่งผลให้มีอาการดังต่อไปนี้

1.ความดันโลหิตสูงขึ้น

2.เวียนศีรษะ หน้ามืด วิงเวียนเมื่อลุกนั่งเร็วๆ หรือก้มหน้านานๆ เวียนหัว 

3.ปวดหัวบ่อยๆ

4.ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

นอกจากนี้ การสะสมของไขมันในหลอดเลือดอาจส่งผล ให้เกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตันที่หัวใจ และนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด  หรือหากเกิดขึ้นบริเวณสมองอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้

 

สาเหตุของไขมันในเลือดสูง

พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นสาเหตุหลักที่เพิ่มโอกาสในการเกิดไขมันในเลือดสูง

การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลไขมันอิ่มตัวไขมันทรานส์ หรือคารโบไฮเดรตสูงเกินไป เช่น ชีส ไข่แดง อาหารทอดหรือผ่านกระบวนการแปรรูป ไอศกรีม ขนมอบ เนื้อแดง
การออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
การสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

พฤติกรรมดังกล่าวก็ส่งผลให้เกิดไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน

การควบคุมระดับไขมันในเลือด

1.การควบคุมอาหาร

 การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เป็นรากฐานสำคัญของการป้องกัน และรักษาภาวะไขมันสูงในเลือดหลีกเลี่ยงอาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ติดมัน  เครื่องในสัตว์  หนังสัตว์  ไข่แดง อาหารทะเล   ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย  ครีม   เนยแข็ง  ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล  และกะทิหรือมะพร้าว  ขนมอบ และอาหารทอด  หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง  เช่น น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่ได้จากสัตว์ 

2.การออกกำลังกาย 

การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะและสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว  ยังช่วยลดระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล   และเพิ่มระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล

3.การใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด

 ในกรณีที่การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ไม่สามารถลดระดับไขมันในเลือดถึงระดับที่ต้องการ จำเป็นต้องพิจารณาใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย ตามดุลยพินิจของแพทย์ และติดตามการรักษาต่อไป