ไข้ทับระดู เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในผู้หญิงเกิดขึ้นช่วงระหว่างมีประจำเดือน เนื่องจากผู้หญิงร่างกายจะมีภาวะอ่อนแอในช่วงมีประจำเดือน ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ระดับฮอร์โมนภายในร่างกายแปรปรวน เป็นอาการที่ผู้หญิงทุกคนสามารถเป็นได้เกิดขึ้นไดทั้งก่อนและหลังเป็นประจำเดือน

อาการของไข้ทับระดูที่สังเกตได้

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ
  • ปวดท้อง
  • ปวดหลัง

ไข้ทับระดู แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

  1. ไข้ทับระดูทั่วไป ลักษณะอาการของไข้ทับระดูทั่วไป จะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว อาจมีอาการปวดร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้องน้อย เป็นต้น สามารถรักษาอาการเบื้องต้นด้วยวิธีการทานยาลดไข้ตามอาการ
  2. ไข้ทับระดูแฝง ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะของโรคอื่น ๆ แอบแฝงมากับไข้ทับระดู ยกตัวอย่างเช่น ภาวะที่มีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน บริเวณมดลูก ท่อนำไข่  รังไข่ และเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน เกิด “ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ” จะทำให้มีอาการป่วยลักษณะคล้ายไข้ทับระดู ลักษณะอาการของไข้ทับระดูแฝง จะมีอาการรุนแรงกว่าไข้ทับระดูทั่วไป มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ในบางรายอาจมีประจำเดือนมากกว่าปกติ มีกลิ่น และมีตกขาวร่วมด้วย

วิธีการป้องกันร่างกายจากไข้ทับระดู

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารย่อยง่าย เช่น
  • ละเว้นการสูบบุหรี่
  • งดดื่มแอลกอฮอล์
  • ดูแลความสะอาดและสุขอนามันช่วงระหว่างมีประจำเดือน
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีประจำเดือน เนื่องจากปากมดลูกจะเปิด เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง