ก่อนไปรู้ประโยชน์ของ Chelation มาทำความรู้จักกันก่อน ว่า Chelation คือการทำอะไร
Chelation คือ การให้สารละลายที่มีส่วนผสมของ EDTA (Ethylene Diamine Tetra Acetic Acid) ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นสารที่จะทำการดักจับกับโมเลกุลของโลหะหนัก แล้วขับออกมาทางปัสสาวะ
โลหะหนักที่ควรกำจัดออกมีอะไรบ้าง
โลหะหนักที่ไม่ควรมีในร่างกาย ได้แก่ ปรอท (Mercury) ตะกั่ว (Lead) สารหนู (Arsenic) ในกระแสเลือดแคลเซียม (Calcium) ที่เกาะตามผนังหลอดเลือดและฝังอยู่ในเนื้อเยื่อ
ทำไมถึงมีโลหะหนักอยู่ในร่างกาย
การรับสารพิษที่ทำให้มีโลหะหนักอันตรายสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น มีได้จากหลายสาเหตุ เช่น
– ปนเปื้อนจากมลภาวะ เช่น ควันจากท่อไอเสีย ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ยาฆ่าแมลงในในแหล่งน้ำธรรมชาติ
– ปนเปื้อนในอาหาร เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป ผักหรือผลไม้สดบางแหล่ง รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่อาหารด้วย
– ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เช่น น้ำยาเปลี่ยนสีผม ลิปสติก ยาทาเล็บ
– ปนเปื้อนในยา เช่น ยาแผนโบราณ ยาลูกกลอน ยาชุด
ใครควรทำ Chelation
Chelation สามารถทำได้ทุกคน (ควรอายุเกิน 25 ปี) แต่ที่จะแนะนำเป็นพิเศษว่าควรทำ ก็คือ
– ผู้ที่ตรวจพบสารพิษหรือโลหะหนักสะสมในร่างกาย
– ผู้ที่มีระดับไขมันและคอเลสตอรอลในเลือดสูง
– ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่
– ผู้ที่ดื่มกาแฟ ชา เป็นประจำ
– ผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะง่าย
– ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
– ผู้ที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ
– ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
– ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
– ผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย
– ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสหวานจัด มันจัด เนื้อสัตว์ ของทอด ปิ้งย่าง
Chelation ช่วยเรื่องอะไร
– ขจัดสารพิษตกค้างในร่างกายและระบบหลอดเลือด
– กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต
– ลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด
– ลดปริมาณการใช้อินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน
– ลดความดันโลหิต
– ลดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
– ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
– บำบัดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
– ลดอาการโรคภูมิแพ้
– กระตุ้นการทำงานของเส้นเลือดที่ปลายแขนและปลายขา
– ลดอาการของโรคอัลไซเมอร์
– เพิ่มความไวในการรับสัมผัส เช่น การรับรส การมองเห็น และการได้ยิน
ข้อควรระวังก่อนทำ Chelation
ผู้ที่มีเกณฑ์ต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้ Chelation
– หญิงตั้งครรภ์
– ผู้ที่มีปัญหาการทำงานของตับและไต
– ผู้ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้
– ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเอนไซม์ G-6-PD
– ผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ผู้ที่มีเกณฑ์ต่อไปนี้ ไม่แนะนำให้ทำ Chelation
– ผู้ที่มีเคยมีประวัติแพ้ สารละลาย EDTA อย่างรุนแรง
– ผู้ที่มีอาการทางสมองผิดปกติจากตะกั่วเฉียบพลัน
– ผู้ที่มีประวัติผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือผู้ที่มีระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ
– ผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 4-5 ยกเว้นผู้ที่สามารถฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้
Chelation อันตรายมั้ย
Chelation ถือว่าเป็นการให้สารละลายทางเส้นเลือดที่ปลอดภัย ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย จึงถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการการดูแลรักษาผู้ที่มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ที่ปลอดภัย เชื่อถือได้
แต่อย่างไรก็ตาม หลังรับ Chelation อาจมีอาการข้างเคียงบ้างเล็กน้อย แตกต่างกันตามสุขภาพของแต่ละคน เช่น
– แสบร้อนบริเวณผิวหนังที่ถูกฉีดยา
– มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
– เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
– หัวใจเต้นผิดจังหวะ
– รู้สึกง่วงและอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ในช่วง 1–2 วัน หลังรับ Chelation
ควรทำ Chelation บ่อยแค่ไหน
ความถี่และจำนวนครั้งของการทำ Chelation เป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ อาจทำทุกสัปดาห์ หรือ 2 – 4สัปดาห์ต่อครั้งได้ ขึ้นอยู่กับอาการและผลตรวจร่างกายของแต่ละคน สามารถทำต่อเนื่องได้ตั้งแต่ 5 – 10 ครั้ง