เช็คตัวเองด่วน !!!
- มีไข้สูงกว่า 37.5 องศา
- เจ็บคอ
- ไอแห้ง
- มีน้ำมูก
- หายใจเหนื่อยหอบ
ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่อาศัยในประเทศหรือเมืองที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ที่เดินทางเข้าไปหรือออกจาก รวมถึงการแวะเปลี่ยนเครื่องบินในประเทศหรือเมืองที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นต้น
สงสัยว่าจะติดแล้วแน่ๆ ต้องทำอย่างไร
- มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย อุจารระร่วง
- มีภาวะปอดบวม โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง ปอดอักเสบและน้ำท่วมปอด
- ไตวาย เม็ดเลือดขาวต่ำลง ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว
โดยจะต้องตอบตามความเป็นจริง ไม่ปิดบังและบิดเบือนข้อมูลอย่างเด็ดขาด ไม่ใช่เพียงเพื่อตนเองเท่านั้นในการวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องของแพทย์ แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองที่จะควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญ เราทุกคนจะต้องร่วมด้วยช่วยกัน Stay at Home อยู่บ้านปลอดภัย หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น อยู่ห่างกันเข้าไว้ ล้างมือบ่อยๆ และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน
ไข้หวัดธรรมดา vs Covid – 19
#ไข้หวัดธรรมดา #Covid19 #ต่างกันอย่างไร #มาดูกัน
ไข้หวัดธรรมดา
- มีไข้ต่ำ
- น้ำมูกไหล
- ไอ
- จาม
- เจ็บคอ
ความรุนแรง : มักไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรงเท่าไหร่ และไม่มีอาการที่รบกวนชีวิตประจำวันมากนัก และมีอาการอยู่ไม่นาน เพียงแค่ทานยาให้ครบ พักผ่อนให้เพียงพอ อาการไข้หวัดก็จะค่อยๆหายไปเองในระยะเวลา 3 – 4 วัน
โควิด – 19
- มีไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอแห้ง
- มีเสมหะ (อาจมีเลือดติดเป็นเส้นสาย)
- หายใจเหนื่อยหอบ (ลำบาก)
- ปวดเมื่อยตามตัว
- อาจมีคลื่นไส้
- ท้องเสีย
ความรุนแรง : จะทำให้มีอาการปอดอักเสบซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต แต่ความรุนแรงจะแตกต่างกันตามความแข็งแรงและภูมิคุ้มกันของแต่ละคน โดยเด็กอายุน้อย และกลุ่มวัยรุ่น จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าผู้สูงอายุ (ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจะเป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอด)
แต่หากท่านใดที่มีอาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น มีไข้ น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย แล้วอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อ หรือไปตามสถานที่ที่เสี่ยงมา ควรรีบไปตรวจเพื่อหาเชื้อทันที!! แต่หากใครที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง แนะนำให้ทานยา พักผ่อนให้เพียงพอ กักตัวอยู่บ้านเป็นระยะเวลา 14 วัน และเฝ้าสังเกตอาการตัวเองต่อไป หากไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ทันที
ที่มา : https://www.sanook.com/health/20657/