“ ทุกครั้งที่เล่นกีฬา ย่อมมีโอกาสบาดเจ็บ
และทุกครั้งที่ใช้งานร่างกาย ก็ย่อมมีโอกาสเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา
อาการปวดข้อ ปวดเข่า เจ็บเอ็น ไขข้อเสื่อม ฯลฯ
คือ เรื่องที่ไม่ควรปล่อยผ่าน และสามารถแก้ไขได้… ”

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสตรวจร่างกายแบบฟูลออฟชั่น กับ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต และที่แห่งนี้ ก็ได้มอบความรู้ใหม่เกี่ยวกับการแพทย์ประดับสมองผม ซึ่งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อคนที่เล่นกีฬาเป็นประจำ หรือคนทำงานอายุ 30 ปีขึ้นไปอย่างผม และคนรอบกายผมอย่างมากมาย

“เป็นเรื่องของการรักษาอาการบาดเจ็บ หรือปวดตามข้อที่ใช้เลือดตัวเองรักษาตัวเอง”

“ทุกครั้งที่เล่นกีฬา ย่อมมีโอกาสบาดเจ็บ
และทุกครั้งที่เราใช้งานร่างกาย ก็ย่อมเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา
อาการปวดข้อ ปวดเข่า…

โพสต์โดย จอน เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2019

เบื้องหน้าของผมในวันนั้น คือ “นายแพทย์คมสัน ฤกษ์อุดม” ตัวละครพระรองที่คอยอธิบายเรื่องราวต่างๆ และต่อจากนี้ คือ เรื่องราวของ “PRP” พระเอกของบทความนี้ครับ

PRP ย่อมาจาก “Platelet Rich Plasma” แปลตรงตัวคือ “น้ำเหลืองส่วนที่มีเกล็ดเลือดเยอะ” ซึ่งปกติแล้ว เลือดของเราจะประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด แล้วก็พลาสมา หรือ น้ำเหลือง หลักการทำงานของ PRP ในขั้นแรก คือ การแยกส่วนประกอบของเลือด ด้วยการเจาะเลือดผู้ป่วยออกมาประมาณ 15 cc แล้วนำไปปั่น ใช้เวลาประมาณ 7 นาที เพื่อแยกเกล็ดเลือดกับน้ำเหลือง ออกจากเม็ดเลือดแดง และ เม็ดเลือดขาว (จะได้เกล็ดเลือดกับน้ำเหลืองราว 5-6 cc)

พอแยกเสร็จ ก็นำ “เกล็ดเลือด กับ น้ำเหลือง” ฉีดเข้าไปในบริเวณที่บาดเจ็บ เพราะเกล็ดเลือดที่เข้มข้นสูงจะมี Growth Factor ช่วยสร้างเส้นเลือดคอลลาเจน ต้านการอักเสบ และกระตุ้นให้เกิดการสมานแผลภายในเส้นเอ็น กระดูก และข้อ พูดง่ายๆ คือ แยกส่วนประกอบของเลือด เอาเฉพาะส่วนที่มี Growth Factor มาใช้ประโยชน์ด้วยการฉีดเข้าไปในร่างกาย ตรงพื้นที่ที่ต้องการซ่อมแซม

ปกติแล้ว ถ้าเราเกิดบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น เอ็นข้อเท้าอักเสบ ตอนแรกก็ประคบเย็น แล้วค่อยประคบร้อน ตามด้วยทานยาแก้ปวด หรือ ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นยาลดอาการปวด ไม่ใช่การรักษา เพราะสุดท้าย ร่างกายจะซ่อมแซมตัวเอง แต่ปัญหาจะเกิดเมื่ออายุมากขึ้น การซ่อมแซมตัวเองจะมีประสิทธิภาพน้อยลง โดยเฉพาะคนที่อายุ 35-40 ปี ขึ้นไป

PRP จึงเป็นเสมือนการเลียนแบบการซ่อมแซม และรักษาตัวเองของร่างกาย แต่ประสิทธิภาพดีกว่า เพราะเลือกเฉพาะเกล็ดเลือดเข้มข้น ไม่ต้องรอให้ร่างกายมันคั้น และถ้ายิ่งแก่ ก็ต้องยิ่งรอนาน

เอาหละ ที่ผมเขียนมา คือ หลักการของ PRP ซึ่งผมขออนุญาตนำเคสที่ถูกรักษาจริงมาเล่าสัก 2 เคสนะครับ

เคสแรกก็คือคุณหมอคมสันเนี่ยแหละครับ คุณหมอบอกว่า แกมีอาการข้อเข่าเสื่อมตามวัย ขึ้นลงบันไดก็มีอาการปวด เพราะเมื่อก่อน คุณหมอเล่นกีฬารักบี้ที่คณะ สมัยเรียนที่ ม.มหิดล ซึ่งทำให้มีอาการหมอนรองกระดูกฉีก เข่าเลยเสื่อม แต่ด้วยความที่ฉีกไม่เยอะมาก ไม่ต้องผ่าตัดก็ได้ แกจึงใช้วิธีนี้ และคนที่ฉีดเกล็ดเลือดเข้าในข้อเข่าให้กับคุณหมอคมสัน ก็คือ ตัวแกเองครับ แกเปิดรูปที่จัดการฉีดตัวเองให้ดูด้วย ทำเอาผมตกใจเล็กน้อยเลย 55555

คุณหมอเล่าว่า หลังจากฉีดแล้ว อาการปวดเข่าก็ลดลงครับ ขึ้นลงบันไดไม่มีปวด จากที่เคยขึ้นลงบันไดแล้วมีความรู้สึกกร็อบแกร็บๆ ข้างใน และสามารถเคลื่อนที่ร่างกายได้สมูธมากขึ้นด้วย

ผมถามคุณหมอว่า นอกจากการพิสูจน์ด้วยความรู้สึกของตัวคนไข้แล้ว มีตัวเลขทางวิทยาศาสตร์ชี้วัดไหมว่าวิธีนี้ดีจริง ซึ่งคุณหมอบอกว่า มีการวิจัย พิสูจน์ด้วยวิธีเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI แล้วว่า คนไข้ที่ผ่านการรักษาด้วยวิธี PRP จะมีผิวข้อเข่าเสื่อมน้อยลง และคนไข้ก็มีการใช้งานเข่าได้ดีขึ้น เหยียดงอ และเคลื่อนไหวได้มากกว่าเดิม

ซึ่งวันที่ผมไปนั่งฟังคุณหมอคมสันเล่า ก็มีเคสนึงมารักษาพอดี เป็นคุณลุงอายุราวๆ 50 กลางๆ ปัญหาของแกคือ ขับรถเป็นประจำ และเมื่อแก่ตัวขึ้น พอขับนานๆ ก็จะมีอาการเจ็บเข่า แกเห็นวิธีการรักษาแบบ PRP แล้วสนใจจึงลองทำดู เพราะไม่ต้องผ่าตัด โดยแกฉีดครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา พอปีใหม่ ก็สามารถขับรถได้เลย อาการต่างๆ ทุเลาและดีขึ้น ใช้ชีวิตได้ปกติทันที จากที่เคยปวดเข่าเพราะนั่งนานๆ ท่าเดิมซ้ำๆ จากที่เคยเจ็บๆ เสียวๆ บริเวณเข่าตอนลงรถก็หายไป จึงกลับมาฉีดอีกครั้ง และผมก็ได้เห็นกระบวนการทุกอย่างที่เสร็จสิ้นภายในเวลาเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น

หลายท่านอ่านมาถึงบรรทัดนี้ ก็อาจจะมีคำถามหลายสิ่งเกิดขึ้นในห้วงความคิด ซึ่งผมก็มี และก็ได้ถามมาแล้วฮะ…

DSC_0035

PRP แก้ปัญหาอาการอะไรได้บ้าง มีหลายข้อครับ ใครเป็นข้อไหนลองดูกันเลย…

  1. บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทั้งขา แขน และมือ รวมถึง เส้นเอ็น น่อง และข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิ่ง, ตีกอล์ฟ, เทนนิส, แบดมินตัน, วอลเลย์บอล รวมถึงการเตะฟุตบอลที่เป็นกีฬายอดฮิตของคนไทย
  2. การทำงานที่ต้องเดินขึ้นลง ทำงานท่าเดิมซ้ำๆ จนมีอาการปวดเส้นเอ็น หรือข้อต่างๆ อย่างเรื้อรัง เช่น หัวไหล่, ข้อศอก, ข้อสะโพก, ข้อเข่า รวมไปถึงเอ็นร้อยหวาย หรือ เอ็นฝ่าเท้า
  3. โรคทางกระดูก และความเสื่อมต่างๆ
  4. รักษาแผลเรื้อรัง เช่น แผลกดทับ แผลเบาหวาน และ แผลติดเชื้อ

ดีกว่าการรักษาแบบอื่นอย่างไร…

อย่างแรก คือ ไม่ต้องทานสเตรอยด์ ซึ่งจะมีผลข้างเคียงต่อข้อหรือระบบต่างๆ ของร่างกายในอนาคต อย่างต่อมา คือ ดีกว่าปล่อยให้หายเอง และดีกว่าการผ่าตัด (ในเคสที่ไม่รุนแรงถึงขั้นจำเป็นต้องผ่าตัด) เพราะสามารถทำงานได้ทันที ในเวลาเพียง 1-2 วัน ไม่ต้องรอฟื้นฟูร่างกายเหมือนการผ่าตัด และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล อีกอย่างคือ ดีกว่าการกินยาแก้ปวด ซึ่งจะไปหยุดยั้งอาการปวด แต่ก็จะมีผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดอาการกระเพาะอักเสบจากยาได้ และที่สำคัญ ปลอดภัยแน่นอน โดยมีผลข้างเคียงน้อยมาก จะมีก็เพียงความรู้สึกปวดเล็กน้อย เพราะโดนฉีดยา

คุณหมอคมสันเล่าว่า จนถึงขณะนี้ มีเคสที่รักษาด้วยวิธี PRP กับทางโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต แล้วทั้งหมด 200 กว่าเคส ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีอายุ ที่มีอาการข้อเสื่อม รวมถึงบุคคลทั่วไปที่เจ็บจากการเล่นกีฬาเป็นประจำ เจ็บกล้ามเนื้อเอย เอ็นร้อยหวายเอย ข้อเท้าแพลงเอย เอ็นข้อเท้าฉีกเอย เจ็บเข่าก็มี

ซึ่งนักกีฬาอาชีพ ก็ใช้วิธีนี้อย่างแพร่หลายนะ ทั้งในวงการกอล์ฟ และเทนนิส เพราะไม่มีผลต่อการโด๊ปปิ้ง เนื่องจากไม่มีสารเคมี ไม่มีสเตรอยด์ ไม่ใช่สารกระตุ้น หรือสารปฏิชีวนะ เพราะสกัดจากเลือดเราเอง 100% เป็นธรรมชาติบำบัดนะครับผม

หากเกิดความสนใจ จะมีการรักษาแบบนี้ ที่ไหนบ้าง และที่สำคัญ ต้องลงทุนเท่าไร…

การรักษาแบบ PRP มีที่ต่างประเทศมานับสิบปีแล้ว แต่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย ราว 3-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีหลายโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ที่มีการรักษาวิธีนี้ หนึ่งในนั้นก็คือ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต นี่แหละครับ

ทั้งนี้ ในประเทศไทย เพิ่งมีข่าวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ในเรื่องงานวิจัยของ พลตำรวจตรี นายแพทย์ธนา ธุระเจน จากโรงพยาบาลตำรวจ ที่ทำการวิจัยเรื่องนี้เป็นที่แรก สำหรับช่วยผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ป่วยที่มีอายุ เนื่องจาก ง่าย ใช้เวลาน้อย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ต้องกินยา และปลอดภัย

PRP-John1

ราคาอยู่ที่เข็มละ 8,500 บาท นะครับ สำหรับโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต (บวกค่าเอ็กซเรย์ และค่าคุณหมอ ที่ต้องประเมินอาการ กับดูสภาพร่างกายบริเวณที่บาดเจ็บ) ซึ่งก็แพงกว่าการรักษาด้วยการทานยา และการใส่เฝือกอ่อน แต่หากคุณมีประกันสุขภาพต่างๆ ที่สามารถลดราคาได้ ผมก็มองว่าคุ้มนะ เพราะสามารถทำงานได้ทันที และถูกกว่าการผ่าตัดที่ต้องลงทุนเป็นแสน

ถ้าสนใจจริงๆ ทางโรงพยาบาล จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ก็พร้อมที่จะดูแลคุณในเรื่องนี้ ซึ่งสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์ 080-215-6331 หรือเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.ch9airport.com ได้เลยครับ

PRP1040-01

ผมเองก็เป็นเหมือนผู้ชายทั่วไป ที่อายุมากขึ้น แต่ก็ยังเลือกที่จะออกกำลังกายด้วยวิธีเตะบอลอยู่ประจำ มันก็ต้องมีบ้างที่จะหาวิธีดูแลตัวเอง และแน่นอนว่า หากการตรวจร่างกายครั้งหน้า ความสมบูรณ์ของร่างกายไม่เหมือนเดิม หรือมีอาการไขข้อเสื่อมเมื่อไร ผมก็คงต้องลงทุนใช้บริการเกล็ดเลือดตัวเองสักเข็มแน่นอนครับ ^^