หลักการทำงานของ เครื่องช็อคเวฟ (Shock Wave) คือ คลื่นกระแทกเกิดจากแรงอัดอากาศปริมาณสูง โดยคลื่นจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็วเหนือเสียงทำให้เกิดพลังกดอัดที่มีลักษณะเฉพาะ เข้าไปในบริเวณที่มีก้อนกล้ามเนื้อและผังพืดที่แข็งเกร็ง กระตุ้นให้กล้ามเนื้อและผังพืดเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-injury) ในบริเวณนั้น ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อและสารอาหารที่จำเป็นกับร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ (Re-healing) ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเซลล์จึงส่งผลทำให้ช่วยลดปวดได้ โดยการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดเร็วขึ้น จึงทำให้เห็นผลได้ทันทีหลังการรักษา
ข้อดี จุดเด่น ของการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock wave
Shock wave จะส่งพลังงานผ่านชั้นผิวหนังลงไปถึง บริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อได้ลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อส่งผลให้เกิดผลทางชีวภาพในเนื้อเยื่อ (Biological effects) ได้แก่
- กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่
- กระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
- กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และยับยั้งกระบวนการอักเสบ ส่งผลให้ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และจุดกดเจ็บเกิดการผ่อนคลาย
- กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
- ช่วยสลายหินปูนในเส้นเอ็น
- เพิ่มและเร่งกระบวนการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยเกิดการกระตุ้นการอักเสบใหม่ในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเรื้อรัง
กายภาพบำบัดด้วย Shock wave รักษาอาการใดได้บ้าง
อาการที่ควรได้รับการรักษาด้วยเครื่อง Shock wave
- เส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis elbow) เอ็นหัวไหล่อักเสบ (Shoulder tendinitis) เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ (Plantar fasciitis) ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (De-Quervain’s) เส้นเอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ(Tendon calcification)
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เช่น ปวดคอเรื้อรัง ปวดบ่าเรื้อรัง ปวดหลังเรื้อรัง ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome)
- อื่นๆ ได้แก่ พังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) ข้อเสื่อมอักเสบ (Osteoarthritis) นิ้วล็อค (Trigger finger) ข้อไหล่ติดจากเยื่อหุ้มข้ออักเสบ (Capsulitis)
ข้อห้าม-ข้อควรระวังในการกายภาพบำบัดด้วย Shock wave
ข้อห้าม
- ผู้ที่สงสัยว่ามีการตั้งครรภ์
- ไม่ควรใช้ในเด็ก
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง
- ผู้ป่วยที่ผิวหนังมีบาดแผล
- ห้ามทำในผู้ป่วยที่ใส่ Peacemaker
- ห้ามใช้ในบริเวณที่มีเส้นเลือดขอดหรือเส้นเลือดอุดตัน
- ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- ผู้ที่มีภาวะเลื่อดแข็งตัวช้า
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
- ห้ามทำบริเวณช่องท้องหรือทรวงอก
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรใช้บริเวณกล้ามเนื้อที่เป็นตำแหน่งของปอด
- หลีกเลี่ยงบริเวณกล้ามเนื้อ คอ หลังใบหู
ผลลัพธ์ที่ได้และระยะเวลาการรักษา
การรักษาด้วยช็อคเวฟคลื่นกระแทกควรเว้นระยะห่างประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้เวลาร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ก้อนที่จะเริ่มการรักษาครั้งถัดไป โดยการรักษาด้วย Shockwave สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาชนิดอื่นได้ เช่น เลเซอร์ หรือ อัลตราซาวด์ ซึ่งจะส่งเสริมให้การรักษาดียิ่งขึ้น หลังการรักษาด้วยวิธีช็อคเวฟกายภาพพบว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ การใช้ Shockwave จะเห็นผลทันทีหลังรักษา แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง พบว่าอาการปวดลดลงกว่าครึ่ง โดยจำนวนครั้งที่ใช้ในการรักษาอยู่ที่ราว 3-5 ครั้งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บของผู้ป่วย
ข้อสรุป
การรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shockwave สามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้ คลื่นกระแทกช็อคเวฟจะไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่เพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อใหม่ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้อาการอักเสบหายไป
คลินิกกายภาพบำบัด
ติดต่อสอบถาม โทร. 089-967-3543 หรือ 02-115-2111 ต่อ 2219
อ้างอิง
– Crevenna, R., Mickel, M., Schuhfried, O., Gesslbauer, C., Zdravkovic, A., & Keilani, M. (2020, December 18). Focused extracorporeal shockwave therapy in physical medicine and rehabilitation – current physical medicine and Rehabilitation reports. SpringerLink. Retrieved September 23, 2022, from https://link.springer.com/article/10.1007/s40141-020-00306-z
– Dedes, V., Stergioulas, A., Kipreos, G., Dede, A., Mitseas, A., & Panoutsopoulos, G. (2018). Effectiveness and safety of shockwave therapy in tendinopathies. Materia Socio Medica, 30(2), 141. https://doi.org/10.5455/msm.2018.30.141-146
– Pain Away Clinic. (2020, September 13). Shockwave therapy: All you need to know. Pain Away Clinic. Retrieved September 23, 2022, from https://www.painawayclinic.com/en/shockwave-therapy/